การใช้วาทศิลป์ขั้นสูง...(ศิลปะการโต้วาที)
โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย
ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
ที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์และการสื่อสาร
การโต้วาทีถือได้ว่าเป็นการใช้วาทศิลป์ขั้นสูง
ถามว่า “ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น” เพราะบุคคลที่จะโต้วาทีให้ได้ดี
จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานเกี่ยวกับการพูดหลายๆด้าน เช่น
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าสาธารณชน , ต้องผ่านทักษะการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมาพอสมควร,ต้องรู้จักการสร้างโครงเรื่องในการพูด,ต้องมีศิลปะในการใช้ท่าทางและศิลปะในการใช้วาทศิลป์
เป็นต้น
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าสาธารณชน
ในยุคปัจจุบันมีหนังสืออยู่มากมาย ตามท้องตลาด ซึ่งภายในหนังสือจะมีทฤษฏี
มีหลักการ มีคำแนะนำต่างๆ ที่ทำให้ผู้อ่าน สามารถนำไปใช้ นำไปปฏิบัติได้
ซึ่งจะพูดไปแล้ว การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์คือเราสามารถอ่าน สามารถฟัง
และเข้ารับการอบรมเพื่อให้ได้ความรู้มา ศิลป์คือ การนำเอาศาสตร์ไปประยุกต์
ฉะนั้น บุคคลที่พูดเก่ง พูดเป็น
มักจะมีศิลป์หรือมีศิลปะในการนำเอาคำพูดไปใช้ได้มากกว่า ดีกว่า เก่งกว่า
บุคคลที่พูดไม่เป็น พูดไม่เก่ง
ต้องผ่านทักษะการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมาพอสมควร
บุคคลที่จะโต้วาทีได้ จำเป็นต้องมีไหวพริบ ปฏิภาณในการพูด ซึ่งบุคคลที่จะมีไหวพริบ
ปฏิภาณได้จำเป็นจะต้องมีการฝึกฝน การพูดต่อหน้าที่ชุมชนและการโต้วาทีบ่อยๆจะเป็นการฝึก
ไหวพริบ ปฏิภาณได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้บุคคลที่จะโต้วาทีให้ได้ดี
จำเป็นจะต้องมีชั่วโมงบิน หรือมีประสบการณ์ในการทางการพูดต่อหน้าที่ชุมชนอยู่บ้าง
ต้องรู้จักการสร้างโครงเรื่องในการพูด
ในการโต้วาที เราต้องรู้จักการสร้างโครงเรื่อง ว่าขึ้นต้นเราจะขึ้นต้นอย่างไร
ตอนกลางเราจะพูดอะไร และสรุปจบอย่างไร ถึงจะเป็นที่ประทับใจผู้ฟัง
ต้องมีศิลปะในการใช้ท่าทาง
บุคคลที่มีบุคลิกภาพดีมักจะได้เปรียบบุคคลที่มีบุคลิกภาพไม่ดี
นักโต้วาทีควรมีการฝึก การใช้ท่าทางประกอบการพูด เช่น การผายมือ , การชี้นิ้ว , การใช้เอกสารประกอบการพูด , การยืน ตลอดจนการใช้สีหน้า
การเคลื่อนไหวต่าง เป็นต้น
ศิลปะในการใช้วาทศิลป์ การใช้คำพูด
มีความสำคัญ การใช้คำพูดทำให้คนสนใจฟัง คำบางคำมีความหมายเหมือนกัน แต่ความเบา
ความแรง ความสุภาพ ความเป็นกันเองต่างกัน และการใช้กับบุคคลมีความแตกต่างกัน เช่น กิน
ทาน รับประทาน แดก ดื่ม ฉันท์ ฯลฯ
ตลอดการใช้ภาษาไทยควรให้มีความถูกต้องตามหลักภาษาไทย
มีการออกเสียง ร,ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน และควรงดเว้นคำฟุ่มเฟื่อย
ตลอดจนต้องรู้จักประเภทของการพูด
ซึ่งประเภทของการพูดมี 3 ประเภทใหญ่ๆ 1.จูงใจ 2.บรรยายหรือบอกเล่า 3.บันเทิง
สำหรับการพูดโต้วาทีจะอยู่ในการพูดประเภทที่ 1 คือการพูดจูงใจหรือพูดให้คล้อยตาม
เมื่อผู้พูด มีพื้นฐานข้างต้นแล้ว
(ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าสาธารณชน , ต้องผ่านทักษะการพูดต่อหน้าที่ชุมชนมาพอสมควร,ต้องรู้จักการสร้างโครงเรื่องในการพูด,ต้องมีศิลปะในการใช้ท่าทางและศิลปะในการใช้วาทศิลป์)
ผู้พูดคนนั้นจะมีความสามารถในการพูดโต้วาทีได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น