วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
Positive Thinking
Positive Thinking
ฝึกคิดบวก ชีวิตเปลี่ยน
โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย
ม.พิษณุโลก
การฝึกความคิดบวก
เป็นสิ่งที่ดีงามสำหรับการมีชีวิตอยู่ เพราะการคิดบวก ทำให้เรามีความหวัง
ทำให้เรามองโลกในแง่ดี ทำให้เรามีความสุขมากกว่าการคิดลบ
เพราะความคิดสามารถกำหนดชีวิตของคนเราได้ ดังเช่นคำพูดที่ว่า “
เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน” ในบทความฉบับนี้เรามาพูดเรื่องของความคิดในเชิงบวกกันดีกว่า
1.คนเราสามารถสร้างความสุขจากภายในได้ “ ชีวิตที่ผ่านพบ
มีลบก็มีเพิ่มขอเพียงให้เหมือนเดิมกำลังใจ” คนที่จะผ่านชีวิตที่มีความทุกข์ได้
คนคนนั้นต้องหมั่นคิดบวก หมั่นพยายามให้กำลังใจตนเอง ชีวิตของคนเราสามารถมีความทุกข์หรือมีความสุขได้ขึ้นอยู่กับความคิดและสิ่งที่อยู่ภายในใจของตนเองทั้งสิ้น
สำหรับปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งที่ประกอบ เช่น สิ่งแวดล้อม สิ่งเร้า
หากพวกเราทำให้ใจเรามีความสุขได้ สิ่งภายนอกที่มากระทบก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้เลย
2.อยากคิดบวกบางครั้งก็ต้อง ปิดหูบ้าง หมายถึง
คนคิดบวก ในบางครั้ง ก็ไม่ควรไปฟังคำพูด คำนินทา คำด่า คำหยาบ คำพูดที่ไม่ดี
คำพูดที่ทำให้คิดลบ เพราะอาจจะทำให้เราจิตตก คิดในด้านลบ และทำให้เราขาดความเชื่อมั่นหรือขาดความมั่นใจในตนเอง
ตรงกันข้ามกับบางคน ปิดหู ไม่ได้ยิน อาจทำให้คิดในทางบวก ตัวอย่างเช่น
นิทานเรื่อง “ กบแข่งกันปีนต้นไม้ ”
ณ
หมู่บ้านกบแห่งหนึ่งมีการแข่งขันกันปีนต้นไม้
เมื่อการแข่งขันได้เริ่มขึ้น กบแต่ละตัวก็พากันปีนขึ้นต้นไม้
โดยมีกบที่อยู่ด้านล่างต่างตะโกนขึ้นว่า “ ตกลงมา
ตกลงมา ตกลงมา ” ปรากฏว่า กบแต่ละตัว ก็ตกลงมาจริงๆ แต่ในที่สุด
มีกบตัวหนึ่งปีนขึ้นต้นไม้อย่างรวดเร็ว จนขึ้นไปจุดสูงสุด
กบตัวนี้จึงเป็นผู้ชนะการแข่งขัน เมื่อกบตัวนี้ลงจากต้นไม้
มีกบหลายตัวเข้าไปถามว่าทำไม กบตัวนี้ถึงเก่งและสามารถปีนขึ้นไปได้ที่จุดสูงสุด
เมื่อกบผู้ชนะถูกถาม กบผู้ชนะ ก็ทำหน้า งง งง เพราะไม่เข้าใจและไม่ได้ยิน
เพราะกบตัวนี้หูหนวกนั่นเอง ดังนั้น คนเราในบางครั้งอาจจะต้องทำตัวเป็นคนหูหนวกบ้าง
ไม่ได้ยินบ้าง เพราะคำพูดของคนอื่นๆ เป็นจำนวนมากมักผ่านเข้ามาแล้วทำร้ายจิตใจของเรา
ทำให้เราเกิดความคิดในด้านลบ และหมดกำลังใจได้ เหมือนกับกบหลายตัวที่ตกลงมาจากต้นไม้
เพราะได้ยินคำพูดว่า “ ตกลงมา ตกลงมา
ตกลงมา ” แต่กบตัวที่ชนะ หูหนวก เมื่อมองจากต้นไม้ลงมาก็คิดว่า
กบทุกตัวได้ตะโกนเชียร์ตนเองว่า “ รีบขึ้นไป รีบขึ้นไป รีบขึ้นไป” กบตัวนี้จึงรีบปีนขึ้นต้นไม้อย่างรวดเร็ว
กบตัวนี้จึงเป็นผู้ชนะเพราะการคิดในด้านบวกนั้นเอง
3.คนที่คิดบวกต้องเลือกคบกับคนที่คิดบวก
ไม่ควรไปคบกับคนที่คิดลบ
ถ้าใครศึกษาเรื่องกฎแห่งแรงดึงดูดก็จะทราบว่า
คนที่มีนิสัยใจคอ พฤติกรรม ทัศนคติ คล้ายกันก็จะเข้ากันได้ เช่น น้ำกับน้ำมัน
เมื่อถูกผสมกัน อีกสักครู่น้ำกับน้ำมันก็จะเกิดการแยกตัวออกจากกัน ถ้าเราเป็นคนคิดบวก
ดันไปคบกับเพื่อนที่คิดลบเยอะๆ อีกไม่นาน เราก็จะกลายเป็นคนที่คิดลบ
จงถอยออกจากเพื่อนที่คิดลบ ก่อนที่จะสายเกินไป
4.จงใช้หลักศาสนา
ในการดำรงชีวิต โดยส่วนตัวของกระผมเชื่อว่า ศาสนาทุกศาสนา สอนให้คนเป็นคนดี
สอนให้คนพบความสุข ในบางครั้ง บางเวลา เราเกิดความทุกข์ จงเข้าหาศาสนา
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า คนที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามาก เกิดความทุกข์มากๆในอดีต เขาก็จะเข้าหาศาสนา
เช่น หลายคนมีความทุกข์ก็จะเข้าไปปรึกษาพระสงฆ์ หรือ เข้าไปทำบุญในวัด เป็นต้น
ดังนั้น จงฝึกคิดบวกให้มาก
จงฝึกคิดในทางบวกให้มาก แล้วชีวิตของท่านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
บทความ การพูดต่อหน้าที่ชุมชน การพูดต่อหน้าสาธารณะชน
การพูดต่อหน้าที่ชุมชน
การพูดต่อหน้าสาธารณะชน
โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย
ม.พิษณุโลก
การพูดที่ประสบความสำเร็จ
คนพูดต่อหน้าที่ชุมชน ควรคำนึงถึง วัตถุประสงค์ของการพูดหรือเป้าหมายของการพูด
ซึ่งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการพูดมีอยู่ 3 แบบคือ
๑. แบบจูงใจหรือชักชวนหรือโน้มน้าว เป็นการพูดเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามผู้พูด
เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความ
เชื่อและทัศนคติ การกระทำ เช่น การพูดในรัฐสภา ,
การพูดหาเสียงของนักการเมือง , การพูดให้บริจาคร่างกายหรือบริจาคเลือด เป็นต้น
๒.
แบบบอกเล่าหรือบรรยาย เป็นการพูดเพื่อบอกเล่าหรือบรรยายหรือสอน
เพื่อให้ผู้ฟังได้รับความรู้ ได้รับข้อมูลข่าวสาร เช่น ครู อาจารย์ สอนหนังสือในห้องเรียน ,
การเล่าข่าวในช่องข่าวต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากและผู้ฟังนิยมให้ผู้ประกาศข่าวเล่าข่าวมากกว่าการอ่านข่าวแบบเดิมๆ
ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานมากกว่า เป็นต้น
๓.
แบบบันเทิงหรือรื่นเริง เพื่อจรรโลงใจ
เพื่อสร้างความบันเทิง ความสนุกสนาน อารมณ์ขันในการฟัง เช่น ทอล์คโชว์ , เดี่ยวไมค์โครโฟน
เป็นต้น
เมื่อนักพูดทราบว่าเรามีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการพูดแต่ละเวทีอย่างไร
เราก็ต้องพูดให้ตรงกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการพูด ก็จะประสบความสำเร็จ
มากกว่าผู้พูดที่ไม่รู้จักวิเคราะห์วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการพูดและอีกประการหนึ่งนักพูดต่อหน้าที่ชุมชนที่ประสบความสำเร็จต้องรู้และปรับใช้การพูดของตนเองตามสถานการณ์ต่างๆเช่น
ซึ่งการพูดต่อหน้าชุมชนมีอยู่ด้วยกัน ๔ ประเภท ดังนี้
๑. พูดแบบท่องจํา คือ การเตรียมเรื่องพูดโดยการท่องจำ เนื้อหา
สาระ มาพูด โดยพูดอย่างมีศิลปะให้ดูอย่างเป็นธรรมชาติ มีการใช้ภาษากายประกอบการพูด
๒.
พูดแบบมีต้นฉบับ คือ การพูดไปอ่านเนื้อหาจากต้นฉบับที่ร่างเพื่อนำเอาไปพูด ซึ่งการพูดลักษณะนี้ ไม่ควรจะก้มหน้าก้มตาอ่านอย่างเดียว
ผู้พูดควรมีการซ้อมพูดหรือฝึกพูดจากต้นฉบับมาก่อนหลายๆรอบ เพื่อให้การพูดแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ
๓.
พูดจากความเข้าใจ คือการพูดที่มีการเตรียมเนื้อหามาล่วงหน้า ผู้พูดต่อเข้าใจเนื้อหาของต้นฉบับเป็นอย่างดี
ยิ่งเข้าใจถึงขั้นแตกฉานในเนื้อหาที่พูดผู้พูดก็จะสื่อสารได้อย่างเป็นธรรมชาติ
เป็นกันเองได้มากยิ่งขึ้น
๔. พูดแบบกะทันหัน คือ เป็นการพูดที่ไม่ได้มีโอกาสเตรียมตัวไปพูดเลย
ซึ่งผู้พูดประเภทนี้ต้องมีไหวพริบปฏิภาณ
ในการพูดสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
ต้องพูดเพื่อให้คนฟังเข้าใจโดยมีการลําดับความคิด เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น
โดยสรุปคือ ผู้พูดที่ประสบความสำเร็จในการพูดต่อหน้าสาธารณะชน
มีดังต่อไปนี้
๑. ผู้พูดต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการพูดเป็นอย่างดี
๒.ผู้พูดต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง ว่าผู้ฟัง
เป็นคนเพศใด วัยใด ระดับการศึกษาระดับใด สถานภาพทางสังคม อาชีพอะไร
ความสนใจของผู้ฟัง ความคาดหวังและทัศนคติของผู้ฟังที่มีต่อเรื่องที่พูด
๓.เตรียมขอบเขตเนื้อหาของเรื่องที่จะพูด
โดยคํานึงถึงเนื้อเรื่อง สาระ และระยะเวลาในการพูด ประเด็นสําคัญๆที่จะต้องพูด
๔.เตรียมข้อมูล ค้นคว้า หาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะพูดมาให้มากที่สุดซึ่งต้องอาศัย
การค้นคว้าจากการอ่าน การฟัง การสัมภาษณ์ การสอบถามจากผู้รู้ที่มีความรู้และประสบการณ์
๕.ต้องเขียนสคิป เกี่ยวกับโครงสร้างของเรื่องที่จะพูดออกมาทั้งหมดว่าจะขึ้นต้นอย่างไร
ตรงกลางอย่างไร สรุปจบอย่างไร โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านเวลา ผู้ฟัง สถานที่
ภาษาที่ใช้ ความเข้าใจง่าย ตรงประเด็น เหมาะกับสถานการณ์ที่จะพูด
๖. ซ้อมพูด ซ้อมพูด และซ้อมพูด เพื่อให้เกิดความมั่นใจในตนเอง
ผู้พูดต้องมีการซ้อมพูด จงหาสถานที่ที่สงบๆ แล้วซ้อมพูด ออกเสียงออกมาดังๆ จงใช้ท่าทางประกอบการพูด
ถ้าเป็นไปได้จงหาเครื่องถ่ายวีดีโอหรือกล้องวีดีโอจากโทรศัพท์มือถือถ่ายหรือบันทึกแล้ว
เปิดออกมาดูจะได้รู้ว่า เราควรจะปรับปรุง จังหวะการพูดอย่าง
เราควรจะแก้ไขภาษากายอย่างไรในการพูด
7.สุดท้าย
เมื่อเราต้องพูดต่อหน้าที่ชุมชนจริงๆ เราจะต้องมีการหยืดหยุ่นหรือปรับตามสถานการณ์
เช่น เจ้าภาพให้เราพูด 1 ชั่วโมง แต่ปรากฏว่ามีรายการอื่นๆ
เกิดขึ้นจึงเหลือเวลาให้กับเราแค่ ครึ่งชั่วโมง เราก็ต้องมีการปรับทอนเนื้อหาที่ไม่สำคัญออกเพื่อให้เวลาเหลือแค่ครึ่งชั่วโมง
หรือ ช่วงเวลาที่เราพูดเกิดไฟฟ้าดับ เราก็ต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เป็นต้น
ทั้งนี้
การพูดต่อหน้าที่ชุมชน เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ซึ่งเราทุกคนสามารถเรียนรู้กันได้
พัฒนากันได้ ฝึกฝนเพื่อเพิ่มทักษะกันได้
และเราทุกคนสามารถเป็นนักพูดที่ดีและประสบความสำเร็จได้ซึ่งขึ้นอยู่กับความตั้งใจ
ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของแต่ละบุคคลนั้นเอง
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
การดูแลบุตรหลานในช่วงปิดเทอม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เป็นค่าวิทยากรหัวข้อ " การดูแลบุตรหลานในช่วงปิดเทอม" ให้แก่บ้านพักเด็กและครอบครัว คริสตจักรวารีพิมลธรรม ณ โบสถ์ คริสตจักรวารีพิมลธรรม ตำบล บ้านปิน อำเภอ ดอกคำใต้ พะเยา ww.drsuthichai.com เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
การโต้วาที ของสโมสรฝึกการพูดเชียงราย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com บรรยายพิเศษ "การโต้วาที พร้อมทั้งเสนอแนะ แนะนำวิจารณ์ และเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันการโต้วาที" ที่สมาคมพัฒนา ประชากรและชุมชนจังหวัดเชียงรายจัดโดยสมาคมฝึกการพูดจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563
วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
บทความ เมื่อมีวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ การทำตลาดออนไลน์อย่างไร
บทความของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ เกี่ยวกับ การตลาด เขียนให้กับสมาคมเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น วารสาร TPA News ฉบับที่ 285 ข่าว ส.ส.ท. ปีที่ 24 ฉบับที่ 285 เดือน กันยายน 2563 ครับ...
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
การกำหนดกลยุทธ์ทางด้านการตลาดมีความสำคัญต่อการแข่งขัน
บทความของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์...เรื่อง "การกำหนดกลยุทธ์ทางด้านการตลาดมีความสำคัญต่อการแข่งขัน" ในวารสาร สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)TPA News ฉบับที่ 287 ข่าว ส.ส.ท. ปีที่ 25 ฉบับที่ 287 เดือน พฤศจิกายน 2563