จงพัฒนาตนเองและการตลาดด้วยมิติ
“ การจัดการ PDCA”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย
ม.พิษณุโลก
คนเราเกิดมาอาจไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของชาติกำเนิด
แต่คนเราทุกๆคนสามารถเลือกที่จะพัฒนาตนเองได้
คนเราจะมีความก้าวหน้าในชีวิต ก้าวหน้าในที่ทำงาน
คนๆนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาตนเอง
เพราะการพัฒนาตนเองจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างที่นิสัยที่ดีไปทดแทนนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง
เช่น การสร้างนิสัยที่มีความขยันขันแข็งไปทดแทนนิสัยที่ขี้เกียจ , การสร้างนิสัยความเป็นผู้ดีไปทดแทนนิสัยที่ต่ำทรามของตน
, การสร้างนิสัยความเสมอต้นเสมอปลายไปทดแทนนิสัยที่จับจดโลเล
เป็นต้น
ในบทความฉบับนี้ กระผมขอพูดเรื่อง จงพัฒนาตนเองและการตลาดด้วยมิติ
“ การจัดการ PDCA”
สำหรับหลักความคิด PDCA เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นซึ่งแพ้สงครามในขณะนั้นเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล
ซึ่งประเทศที่ให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่น
คือประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งคนเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาซึ่งบุคคลดังกล่าวคือ DR.Deming ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องคุณภาพ ซึ่ง Dr.Deming ได้คิดค้น วงจรการบริหารงานแบบ PDCA ซึ่งเป็นการบริหารแบบเรียบง่ายโดยการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าที่มีมากอย่างประสิทธิภาพ
ซึ่งหลัก PDCA มีดังนี้
P (Planning)
การวางแผน เป็นกิจกรรมลำดับแรก ที่ต้องกำหนดเพื่อไปสู่เป้าหมาย ตัวอย่างเช่น
หากว่าเราต้องการพัฒนาตนเองในด้านความขยันขันแข็ง
เราจำเป็นจะต้องวางแผนการใช้เวลาในชีวิตของเราเพื่อให้ทุกนาทีเกิดประโยชน์มากที่สุด
เช่น วางแผนการทำงานในแต่ละวัน แบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อน ออกกำลังกาย
เวลาสำหรับครอบครัว เป็นต้น
การวางแผนจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ
ในการทำงานต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่การพัฒนาตนเอง ดังนั้นหากท่านต้องการพัฒนาตนเอง หากท่านต้องการเปลี่ยนแปลงตนเอง
จงเริ่มสำรวจตัวเองว่า สิ่งไหนที่ท่านต้องการพัฒนาตนเองเป็นอันดับแรกๆ
แล้วเริ่มวางแผนการเป็นรายวัน รายเดือน รายปี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเอง
D (Do) การลงมือทำ การปฏิบัติตามแผน เมื่อมีการวางแผนงานแล้ว แต่ขาดซึ่งการลงมือทำ
แผนที่วางเอาไว้ก็นิ่งสนิท ดังนั้น
การลงมือทำจึงเป็นสิ่งที่ทำให้แผนการที่วางเอาไว้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา
คนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาตนเอง จะไม่ปล่อยให้เวลาเสียไปเปล่าๆ
เขาจะไม่เป็นคนที่รอคอยโชคชะตา แต่เขาจะเป็นคนกำหนดโชคชะตาของตนเอง ด้วยการลงมือ “
ทำทันที หรือ ททท.” โดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
เพราะคนที่ประสบความสำเร็จทุกคน ไม่ใช่เป็นแต่คนที่มีความคิดดีๆ
แต่ไม่ยอมลงมือกระทำ แต่เขาจะตัดสินใจทำทันที เพราะการลงมือกระทำ
เป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ
C (Check)
ตรวจสอบและประเมินตนเอง เมื่อเราลงมือกระทำตามแผนการที่วางเอาไว้
เมื่อเวลาผ่านไป เราต้องมีการตรวจสอบและประเมินตนเอง ตามแผนที่วางไว้
ว่าสิ่งที่เราทำนั้น ได้กระทำตามแผนหรือไม่ หรือ มีสิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ
A (Action)
การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา เมื่อมีการตรวจสอบและประเมินตนเองแล้ว
เราควรหาวิธีการในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา สิ่งที่เราได้ทำเอาไว้ โดยการนำเอา C (Check)
มาตรวจสอบปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
แล้วเราจะนำ PDCA มาปรับใช้กับหลักการตลาดได้อย่างไร คำตอบคือ
ปรับได้อย่างแน่นอน เช่น
P (Planning) การวางแผน เป็นกิจกรรมลำดับแรก นักการตลาดต้องมีการจัดการวางแผนการทำงานหรือการวางแผนการตลาดก่อน
จะทำให้นักการตลาดเห็นภาพที่กว้างและไกลขึ้น
D (Do) การลงมือทำ นักการตลาดต้องปฏิบัติตามแผน
ต้องลงมือทำ เพราะ การดำเนินตามแผนจะนำไปสู่เส้นทางที่นำไปสู่
ความสำเร็จ และบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
C (Check)
ตรวจสอบและประเมินตนเอง นักการตลาดต้องหมั่นตรวสอบและประเมินเมื่อลงมือกระทำตามแผนการที่วางเอาไว้
A (Action)
การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา เมื่อทำตามวงจร PDCแล้วขั้นตอนต่อไปต้อง มีการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา
เพื่อที่จะได้นำไปวางแผนใหม่อีกครั้ง
หากต้องการพัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ” PDCA เราคงต้องมีการกระทำอย่างจริงจัง
และควรทำในลักษณะเป็นวงจรกล่าวคือ PDCA แล้วไปยัง PDCA แล้วไปยัง PDCA อีกหลายรอบ ควรทำเป็นวงจรซ้ำแล้วซ้ำอีก
ไม่ควรทำแค่รอบเดียว และหลักการ PDCA ยังนำไปใช้ได้ในเรื่องของ การบริหารต่างๆ อีกด้วย
เช่น การตลาด,การบริหารงานผลิต , การบริหารงานเขียน
, งานบริหารงานบุคคลและการบริหารและพัฒนาตนเองอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า
หลักการ PDCA เมื่อการดำเนินงานเสร็จสิ้นแต่ละวงจร
เราจะได้รับบทเรียนต่างๆ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก ฉะนั้นหากว่าได้มีการนำมาทบทวน
ปรับปรุง หาข้อสรุป ทั้งข้อดี ข้อด้อย เพื่อที่จะนำไปใช้ในวงจรรอบต่อไป จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
และอาจกล่าวได้ว่า การดำเนินงานตามแนวคิดของวงจร PDCA ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการปรับปรุง
พัฒนางาน อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น
หลักการจัดการ แบบ PDCA จึงสามารถนำเอาไปใช้กับตัวเราเอง
ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้
ก็คงขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ว่าใครจะประยุกต์ใช้ได้ดีกว่ากัน เพราะ PDCA เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
กล่าวคือ ศาสตร์ สามารถเรียนรู้ได้จากหนังสือ การอบรม การฟัง แต่จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
เนื่องจากการนำเอาไปประยุกต์ใช้ที่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือเป็นเรื่องของ ศิลป์
นั่นเอง อีกทั้งนักการตลาดที่นำหลักการ PDCA เอาไปใช้ควรมีการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการแบบ
PDCA ด้วย
เช่น สภาพเศรษฐกิจ สภาพการแข่งขัน สภาพทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา
ฯลฯ เพราะปัจจัยเหล่านี้ อาจทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
หากว่าคุณมีความปรารถนาจะสร้างความสำเร็จ การพัฒนาตนเองและการจัดการด้านการตลาด “ PDCA ” ช่วยท่านได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น