กลยุทธ์การตลาด
เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าไทยสู่ตลาดโลก
โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
ปัจจุบัน
การที่จะร่ำรวย จากการขายสินค้า ผลิตภัณฑ์
บริการ ให้แก่คนไทยเพียงอย่างเดียว หรือ มีกลุ่มลูกค้าแต่ภายในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว
ไม่ได้อีกแล้ว เพราะในยุคปัจจุบันนี้ เราจะสังเกตเห็นว่า สินค้า ผลิตภัณฑ์
บริการของไทยเอง ก็ต้องมีการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติอีกหลายประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริการ เราจะเห็นได้ว่า
มีธนาคารของบริษัทต่างชาติเข้ามา
แข่งขันหรือมาเปิดบริการในไทย
มากมาย อีกทั้งยุคปัจจุบันเรามีอินเตอร์เน็ต บริษัทต่างชาติก็ยิ่งสามารถติดต่อ
ทำมาค้าขายกับคนไทยได้ในประเทศไทย โดยการเชื่อมโยงผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย
เมื่อมีด้านลบก็มีด้านบวก ดังนั้น บริษัทของไทยเรา ก็สามารถเข้าไปเปิดตลาดในต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
โดย ผ่านโลกของอินเตอร์เน็ต
เว็บไซต์ คือ สิ่งแรกที่จะต้องมี
เพราะ เว็ปไซต์ สามารถส่งเสริมศักยภาพทางด้านธุรกิจ , ส่งเสริมการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ง่ายมากยิ่งขึ้น , ช่วยให้คุณขายสินค้าได้โดยไม่ต้องมีหน้าร้าน
, ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรของคุณ , ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ และ สามารถอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าได้
การจัดหา Brand
Ambassador(แบรนด์ แอมบาสเดอร์) ระดับโลก Brand
Ambassador ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งหรือกลยุทธ์หนึ่งในการทำการตลาดระดับโลก
Brand Ambassador หากเปรียบเทียบแล้ว
ก็เหมือนกับเป็นตัวแทนของบริษัท ซึ่งมีการว่าจ้างหรือบางบริษัทอาจจะไม่มีการว่าจ้างแต่จะใช้เจ้าของบริษัทเป็นตัวแทนของบริษัทหรือบางบริษัทอาจจะใช้
ดารา นักแสดง นักกีฬา นักร้อง
โดยจะมีการทำกิจกรรมของบริษัทผ่าน Brand Ambassador(แบรนด์ แอมบาสเดอร์)
เมื่อต้องการจะเป็นแบรนด์สินค้าระดับโลกแล้ว ก็ต้องจัดการ Brand
Ambassador ระดับโลกด้วย เพื่อให้กลุ่มลูกค้าระดับโลก รู้จักสินค้า
ผลิตภัณฑ์ บริการ ของเราได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น นักร้อง ดารา
นักกีฬา ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ให้การสนับสนุน กีฬา ที่คนทั่วโลกชื่นชอบ เช่น กีฬาฟุตบอล หรือ
ถ้าผลิตภัณฑ์ของเรามีบุคลิกภาพอย่างไร ก็ควรให้การสนับสนุนกีฬาประเภทนั้น เช่น
เครื่องดื่มชูกำลัง ส่วนใหญ่มักให้การสนับสนุน กีฬาประเภท ใช้ความเร็ว ความร้อนแรง
ความกระตือรือร้น ขณะเล่น ไม่ว่าจะเป็นกีฬาแข่งรถ
, กีฬาผาดโผน ท้าทาย ท้าความตาย (ปีนเขา , Jet ski , กระโดดหน้าผา)
เช่น red bull หรือ กระทิงแดง สนับสนุน
กีฬาประเภท ทีมฮอกกีน้ำแข็งในเยอรมนี , ทีมแข่งรถจักรยานยนต์วิบาก และ MotoGP , ทีมแข่งรถสูตรหนึ่ง และทีมแข่งเกมDOTA2)
เทคโนโลยีทันสมัยเข้าช่วย ยุคปัจจุบัน
เป็นยุคแห่งการแข่งขันที่อาศัยความรวดเร็ว บริษัทไทย แบรนด์ไทย ต้องอาศัยเทคโนโลยี
เข้าช่วยในการทำงาน เช่น การจัดการประชุมข้ามชาติโดยผ่าน VDO CONFERENCE , การใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ
(การเกษตร,การแพทย์,การศึกษา,การสื่อสาร,อุตสหกรรม)
เข้าช่วยในการทำงาน
สร้างประสบการณ์ในการใช้ให้แก่ลูกค้า เช่น Facebook ใครใช้ Facebook แล้วมีประสบการณ์อะไร ใครใช้ Iphone มีประสบการณ์อย่างไร
เวลาใช้ ถ้าใช้แล้วเกิดความสนุก เกิดความรู้สึกที่ทันสมัย สบายใจ ลูกค้า
เขาก็จะมีการบอกต่อกัน ทำให้ลูกค้าเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน บริษัทของไทยหรือแบรนด์สินค้าของไทย
ที่ไปสู่ตลาดโลกได้ มีเพียงไม่กี่แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ เช่น red bullหรือ กระทิงแดง
สำหรับ
“เบียร์สิงห์” ก็กำลังสร้างแบรนด์ระดับโลก โดย เริ่มแรกมีการซื้อโฆษณาในสนามฟุตบอล
การเป็นสปอนเซอร์สโมสรฟุตบอลดังในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ การใช้ "สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง ของ “ เบียร์สิงห์” ตอบโจทย์ง่ายๆ
เมื่อมีโลโก้สิงห์อยู่บนเสื้อของนักกีฬาทีมโปรด ก็จะทำให้แฟนบอลถามว่าสิงห์เป็นใคร
สิงห์คืออะไร เมื่อรู้..อ้อคือสิงห์ ขายเบียร์ ก็ต้องถามต่อว่า สิงห์มาจากประเทศอะไร
คำตอบคือ ประเทศไทย
และ “เบียร์ช้าง” แบรนด์ใต้อาณาจักรใหญ่อย่าง "ไทยเบฟเวอเรจ"
ก็ยึด Sport Matketing ชิงเค้กเบียร์โลกเช่นกัน โดยมีการทุ่มทุนสนับสนุนเงินผ่านสโมสรบาร์เซโลน่า
และเรอัล มาดริด ด้วยการอัดงบมโหฬาร ปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
“ราชาทูน่าโลก”
กลายเป็นสมญานามของบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ
ทียูเอฟ ยักษ์อาหารทะเลแช่แข็งและบรรจุกระป๋อง โดยใช้เวลาในตลาดเพียง 35 ปี ก็สามารถขยายตลาดไปต่างประเทศได้ถึง
10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย ปาปัวนิวกินี สหรัฐอเมริกา
ฝรั่งเศส โปรตุเกส กาน่า เป็นเจ้าของแบรนด์ชั้นนำระดับโลกถึง 7 แบรนด์จำหน่ายใน 3
ทวีปโลก ได้แก่ อเมริกา ยุโรป และเอเชีย
สาหร่าย
‘เถ้าแก่น้อย’ ก็กำลังก้าวสู่ตลาดโลก
โดยการส่งออก สาหร่าย “ เถ้าแก่น้อย ” มากกว่า 30 ประเทศทั่วโลกอย่างฮ่องกง
มาเลเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ แต่จะประสบความสำเร็จในตลาดโลกขนาดไหนคงต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ต่อไป
ดังนั้น การใช้กลยุทธ์การตลาด
เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าของไทยเพื่อขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ ในตลาดโลก
ไม่ใช่สิ่งที่ยากจนเกินไปหรือง่ายจนเกินไป ทั้งนี้ คงขึ้นอยู่
กับเจ้าของกิจการว่ามีความต้องการที่จะนำสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการของตนเอง ไปขายยังตลาดโลกหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น