วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Human Rights สิทธิมนุษยชน


Human Rights สิทธิมนุษยชน
โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
          สิทธิมนุษยชนคืออะไร สิทธิมนุษยชน คือ คำจำกัดความของคุณค่าสากล(Core values) ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ความเสมอภาคเท่าเทียม , การยอมรับความแตกต่าง , การเคารพซึ่งกันและกัน  , หลักความเป็นธรรมและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
            การศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็น เพราะ จะทำให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมแห่งความเคารพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในฐานะที่เราเป็นพลเมืองของโลก
            ในอดีตประวัติศาสตร์อันยาวนานของโลก ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ บางตอน ที่ทำให้เกิดการส่งเสริมและเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับประเทศและในระดับโลก  เช่น
            2200 ปี ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรเปอร์เซียที่ยิ่งใหญ่ ได้มีการเขียนถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นครั้งแรก โดยระบุว่า “ พลเมืองของอาณาจักร อนุญาตให้นับถือและปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างอิสระอีกทั้งยังมีการเขียนถึงการปกป้องสิทธิในด้านต่างๆ
            1300 ปี ก่อนคริสตศักราช โมเสสได้มีการบัญญัติกฎหรือหลัก 10 ประการขึ้นมา  ถือว่าเป็นกฏหรือหลักที่ใช้ในการอยู่ร่วมกันของชุมชนชาว​อิสราเอลหรือสังคมในขณะนั้น เช่น อย่าฆ่าคน
          600 ปี ก่อนคริสตศักราช สมัยของพระพุทธเจ้าได้มีการสอนถึงเรื่องของศีลธรรม การไม่ใช้ความรุนแรง มีการพูดถึงเรื่องของความเท่าเทียมกันซึ่งในขณะนั้นมีระบบของวรรณะ
            500 ปี ก่อนคริสตศักราช สมัยชาวกรีก มีการพูดถึงเรื่องของความเสมอภาคและความเท่าเทียมมาก่อนกฏหมาย มีการแสดงออกทางความคิดได้อย่างเสรี
            คริสตศตวรรษที่ 1 เป็นช่วงของพระเยซูคริสต์ มีการพูดถึงเรื่องของความรัก ความเท่าเทียมกัน การให้อภัย ณ ดินแดนปาเลสไตน์
            ปี คริสตศักราชที่ 500 เป็นช่วงของพระศาสดามูฮัมหมัด ได้พูดถึงเรื่องของความยุติธรรม สันติภาพ ณ ดินแดนซาอุดิอาระเบีย
            ปี คริสตศักราชที่ 1800 ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการประกาศเลิกทาส
            ปี คริสตศักราชที่ 1848 นักคิดนักปรัชญา ได้เขียนหนังสือและได้เริ่มก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อให้สังคมและประเทศชาติปราศจากการแบ่งชนชั้น ระหว่างคนร่ำรวยและคนจน
            ปี คริสตศักราชที่ 1945 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ(United Nation) เพื่อสิทธิมนุษยชนและร่วมกันส่งเสริมสันติภาพของโลก เนื่องจากช่วงนั้น ฮิตเลอร์ได้มีการสั่งฆ่าชาวยิวไปเป็นจำนวนมาก
            10 ธันวาคม ค.ศ.1948 มีการลงนามว่าด้วยเรื่องของสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีหลายประเทศร่วมกันลงนาม
            ปี คริสตศักราชที่ 1905 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5) ได้ประกาศให้มีการเลิกทาสในประเทศไทย
            ปี คริสตศักราชที่ 1998 มีการทำปฏิญญาสากลว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
            นี่คือเหตุการณ์สำคัญๆบางส่วน บางตอนของ Human Rights Timeline ที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ บนโลกนี้  ส่วนเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน กระผมจะทยอยเขียนบทความให้ท่านผู้อ่านในตอนต่อไป
           
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น