วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ผิดสัญญาเช่าและเป็นการกระทำผิดฐานละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2549 สัญญาเช่าอาคารทั้งสองฉบับครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับลง โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนอาคารที่เช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนอาคารที่เช่า เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองอาคารที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานละเมิด เพียงแต่เมื่อใช้สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาแล้วโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดได้ เพราะเป็นค่าเสียหายมูลกรณีเดียวกัน สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 ข้อ 1 วรรคสองระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม "ผู้เช่า" ต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" ทันที ในกรณีที่ "ผู้เช่า" ไม่สามารถส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" "ผู้เช่า" ยินยอมชำระค่าปรับให้แก่ "ผู้ให้เช่า" วันละ 2,000 บาท นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่ได้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบอาคารที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในทันที โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าข้อ 1 วรรคสอง ได้ แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 11 ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม "ผู้เช่า" จะต้องย้ายออกไปจากที่เช่าทันที ถ้าไม่ขนย้ายออกไปยอมให้ค่าเสียหายค่าปรับเป็นเงินวันละ 2,000 บาท แก่ "ผู้ให้เช่า" ทุกวันจนกว่าจะขนย้ายออกไป ซึ่งระบุเงื่อนไขในการยอมให้ค่าเสียหายเฉพาะกรณีมีการบอกเลิกสัญญาเช่าเท่านั้น แตกต่างจากสัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 แต่แม้จะเป็นกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่าไม่เข้าเงื่อนไขที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดได้ซึ่งโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องและนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


ผิดสัญญาเช่าและเป็นการกระทำผิดฐานละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2549 สัญญาเช่าอาคารทั้งสองฉบับครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับลง โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนอาคารที่เช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนอาคารที่เช่า เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองอาคารที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานละเมิด เพียงแต่เมื่อใช้สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาแล้วโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดได้ เพราะเป็นค่าเสียหายมูลกรณีเดียวกัน สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 ข้อ 1 วรรคสองระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม "ผู้เช่า" ต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" ทันที ในกรณีที่ "ผู้เช่า" ไม่สามารถส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" "ผู้เช่า" ยินยอมชำระค่าปรับให้แก่ "ผู้ให้เช่า" วันละ 2,000 บาท นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่ได้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบอาคารที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในทันที โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าข้อ 1 วรรคสอง ได้ แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 11 ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม "ผู้เช่า" จะต้องย้ายออกไปจากที่เช่าทันที ถ้าไม่ขนย้ายออกไปยอมให้ค่าเสียหายค่าปรับเป็นเงินวันละ 2,000 บาท แก่ "ผู้ให้เช่า" ทุกวันจนกว่าจะขนย้ายออกไป ซึ่งระบุเงื่อนไขในการยอมให้ค่าเสียหายเฉพาะกรณีมีการบอกเลิกสัญญาเช่าเท่านั้น แตกต่างจากสัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 แต่แม้จะเป็นกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่าไม่เข้าเงื่อนไขที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดได้ซึ่งโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องและนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2568

บอกเลิกสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538 โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือแม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและ ขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือ ของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลย โอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรก ที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรับวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 เวลา 10 นาฬิกานั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถ รับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเองดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ 480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 

บอกเลิกสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538 โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือแม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและ ขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือ ของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลย โอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรก ที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรับวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 เวลา 10 นาฬิกานั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถ รับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเองดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ 480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


เมื่อผิดสัญญา คู่สัญญาอีกฝั่ง ย่อมมีอำนาจฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2520 สำนักงาน ก.พ. โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดการควบคุมการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ผู้รับทุน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน เรื่องการรับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อในต่างประเทศตามความต้องการของกรมไปรษณีย์โทรเลขของโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาการรับทุนนั้น เห็นได้ว่าเป็นเรื่องกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 มิใช่กระทำในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 กับจำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาต่อกัน เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจฟ้อง ตามข้อบังคับของ ก.พ. กำหนดให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนักเรียนทุนในความดูแลของรัฐบาล ต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์จนถูกศาลอาญาแห่งประเทศฝรั่งเศสพิพากษาลงโทษจำคุกและปรับ ย่อมถือว่าเป็นเรื่องผิดวินัยของ ก.พ. อันเป็นการผิดสัญญาที่ได้กระทำไว้แล้ว ต้องรับผิดชดใช้เงินทุนและเบี้ยปรับ เงินทุนและเบี้ยปรับเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดได้ตามกฎหมาย ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์



เมื่อผิดสัญญา คู่สัญญาอีกฝั่ง ย่อมมีอำนาจฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2520 สำนักงาน ก.พ. โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดการควบคุมการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ผู้รับทุน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน เรื่องการรับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อในต่างประเทศตามความต้องการของกรมไปรษณีย์โทรเลขของโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาการรับทุนนั้น เห็นได้ว่าเป็นเรื่องกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 มิใช่กระทำในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 กับจำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาต่อกัน เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจฟ้อง ตามข้อบังคับของ ก.พ. กำหนดให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนักเรียนทุนในความดูแลของรัฐบาล ต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์จนถูกศาลอาญาแห่งประเทศฝรั่งเศสพิพากษาลงโทษจำคุกและปรับ ย่อมถือว่าเป็นเรื่องผิดวินัยของ ก.พ. อันเป็นการผิดสัญญาที่ได้กระทำไว้แล้ว ต้องรับผิดชดใช้เงินทุนและเบี้ยปรับ เงินทุนและเบี้ยปรับเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดได้ตามกฎหมาย ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


 

บันทึกข้อตกลงหย่ากัน หากยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าก็ยังถือว่าสมรสกันอยู่ ข้อตกลงหย่านี้ สามารถบอกล้างได้ในขณะที่สมรสหรือหลังจากจดทะเยียนหย่าก็ได้ หากว่าบันทึกข้อตกลงหย่านั้น มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน สามารถบอกล้างในขณะที่เป็นสามีภริยาหรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาก็ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2544 บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.5 แม้จะมีข้อตกลงว่าโจทก์และจำเลยตกลงหย่ากัน แต่ตราบใดที่ยังไม่ไปจดทะเบียนหย่าก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันเมื่อมีข้อตกลงเกี่ยวกับ ทรัพย์สินด้วย จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 โจทก์ฟ้องขอหย่า การที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งอ้างว่าบอกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลย ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันแล้วย่อมถือได้ว่าคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการแสดงเจตนา บอกล้างไปในตัว และเป็นการบอกล้างในขณะเป็นสามีภริยากันอยู่ยังไม่มีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ดังกล่าว จำเลยได้มีการบอกล้างแล้ว จึงไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยอีก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 500,000 บาท เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ให้แก่โจทก์ได้ หากโจทก์มีสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวแก่กันตามสิทธิต่อไป จำเลยซึ่งเป็นสามีโจทก์มีฐานะดี ส่วนโจทก์ประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายของประจำห้างสรรพสินค้า มีเงินเดือนเพียงเดือนละประมาณ 4,000 บาท โจทก์ยังต้องเช่าบ้านอยู่ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองและอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยฝ่ายเดียวโดยไม่ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองให้จำเลยชอบแล้ว ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


บันทึกข้อตกลงหย่ากัน หากยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าก็ยังถือว่าสมรสกันอยู่ ข้อตกลงหย่านี้ สามารถบอกล้างได้ในขณะที่สมรสหรือหลังจากจดทะเยียนหย่าก็ได้ หากว่าบันทึกข้อตกลงหย่านั้น มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน สามารถบอกล้างในขณะที่เป็นสามีภริยาหรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาก็ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2544 บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.5 แม้จะมีข้อตกลงว่าโจทก์และจำเลยตกลงหย่ากัน แต่ตราบใดที่ยังไม่ไปจดทะเบียนหย่าก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันเมื่อมีข้อตกลงเกี่ยวกับ ทรัพย์สินด้วย จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 โจทก์ฟ้องขอหย่า การที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งอ้างว่าบอกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลย ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันแล้วย่อมถือได้ว่าคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการแสดงเจตนา บอกล้างไปในตัว และเป็นการบอกล้างในขณะเป็นสามีภริยากันอยู่ยังไม่มีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ดังกล่าว จำเลยได้มีการบอกล้างแล้ว จึงไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยอีก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 500,000 บาท เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ให้แก่โจทก์ได้ หากโจทก์มีสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวแก่กันตามสิทธิต่อไป จำเลยซึ่งเป็นสามีโจทก์มีฐานะดี ส่วนโจทก์ประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายของประจำห้างสรรพสินค้า มีเงินเดือนเพียงเดือนละประมาณ 4,000 บาท โจทก์ยังต้องเช่าบ้านอยู่ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองและอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยฝ่ายเดียวโดยไม่ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองให้จำเลยชอบแล้ว ทนายโทนี่  ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์




วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2568

จำเลยไม่ได้สวมหมวกนิรภัยตั้งแต่ออกจากบ้าน แต่เพิ่งสวมหมวกนิรภัยก่อนเกิดเหตุย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนา ปิดบังใบหน้าอันเป็นการทำ เพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ในขณะก่อเหตุชิงทรัพย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2568 ในการชิงทรัพย์จำเลยสวมหมวกนิรภัย ทั้งเมื่อพิจารณาภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดก่อนเกิดเหตุปรากฏว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านพัก โดยจำเลยมิได้สวมหมวกนิรภัย แต่ช่วงเวลาที่จำเลยก่อเหตุชิงทรัพย์คดีนี้แล้วหลบหนีไป จำเลยสวมหมวกนิรภัย หากจำเลยมีเจตนาที่จะป้องกันภยันตรายจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยเคร่งครัด ไม่มีเจตนาที่จะปิดบังอำพรางใบหน้าในการกระทำความผิดแล้ว จำเลยย่อมต้องสวมหมวกนิรภัยมาตั้งแต่ขณะขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านพัก การที่จำเลยเพิ่งสวมหมวกนิรภัยก่อนเกิดเหตุเพียงเล็กน้อย ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่า จำเลยมีเจตนาสวมหมวกนิรภัยเพื่อปิดบังใบหน้าอันเป็นการทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ในขณะก่อเหตุชิงทรัพย์ หาใช่เป็นการสวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์บนท้องถนน อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกตามที่จำเลยฎีกาไม่ เมื่อขณะก่อเหตุชิงทรัพย์ จำเลยปิดบังใบหน้าด้วยหมวกนิรภัย อันเป็นการทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ และโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงเป็นการชิงทรัพย์ที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 335 (5) วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์โดยทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้และโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 340 ตรี ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


จำเลยไม่ได้สวมหมวกนิรภัยตั้งแต่ออกจากบ้าน แต่เพิ่งสวมหมวกนิรภัยก่อนเกิดเหตุย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนา ปิดบังใบหน้าอันเป็นการทำ เพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ในขณะก่อเหตุชิงทรัพย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2568 ในการชิงทรัพย์จำเลยสวมหมวกนิรภัย ทั้งเมื่อพิจารณาภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดก่อนเกิดเหตุปรากฏว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านพัก โดยจำเลยมิได้สวมหมวกนิรภัย แต่ช่วงเวลาที่จำเลยก่อเหตุชิงทรัพย์คดีนี้แล้วหลบหนีไป จำเลยสวมหมวกนิรภัย หากจำเลยมีเจตนาที่จะป้องกันภยันตรายจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยเคร่งครัด ไม่มีเจตนาที่จะปิดบังอำพรางใบหน้าในการกระทำความผิดแล้ว จำเลยย่อมต้องสวมหมวกนิรภัยมาตั้งแต่ขณะขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านพัก การที่จำเลยเพิ่งสวมหมวกนิรภัยก่อนเกิดเหตุเพียงเล็กน้อย ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่า จำเลยมีเจตนาสวมหมวกนิรภัยเพื่อปิดบังใบหน้าอันเป็นการทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ในขณะก่อเหตุชิงทรัพย์ หาใช่เป็นการสวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์บนท้องถนน อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกตามที่จำเลยฎีกาไม่ เมื่อขณะก่อเหตุชิงทรัพย์ จำเลยปิดบังใบหน้าด้วยหมวกนิรภัย อันเป็นการทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ และโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงเป็นการชิงทรัพย์ที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 335 (5) วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์โดยทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้และโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 340 ตรี ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีโดยใช้ยานพาหนะ เป็นความผิดอันยอมความได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2568 ความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ใน ป.อ. มาตรา 71 วรรคสอง บัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ผู้สืบสันดานกระทำต่อผู้บุพการี แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ มาด้วย แต่มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดอาญา มาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากจากบทมาตราดังกล่าวไม่ การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 71 วรรคสอง แล้ว เมื่อผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในส่วนข้อหาร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะสำหรับจำเลยที่ 1 แล้ว สิทธิการนำคดีอาญาในความผิดฐานดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นอันระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และการที่ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ย่อมเป็นผลให้คำขอในส่วนแพ่งสำหรับความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย 950 บาท ตกไปด้วย แม้จำเลยที่ 1 มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีโดยใช้ยานพาหนะ เป็นความผิดอันยอมความได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2568 ความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ใน ป.อ. มาตรา 71 วรรคสอง บัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ผู้สืบสันดานกระทำต่อผู้บุพการี แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ มาด้วย แต่มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดอาญา มาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากจากบทมาตราดังกล่าวไม่ การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จึงเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 71 วรรคสอง แล้ว เมื่อผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในส่วนข้อหาร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะสำหรับจำเลยที่ 1 แล้ว สิทธิการนำคดีอาญาในความผิดฐานดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นอันระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และการที่ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ย่อมเป็นผลให้คำขอในส่วนแพ่งสำหรับความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย 950 บาท ตกไปด้วย แม้จำเลยที่ 1 มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ 

การมอบเงินให้บุคคลอื่นปล่อยกู้โดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ผิดกฎหมายและไม่สามารถเรียกร้องให้คืนเงิน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6901/2567 การที่โจทก์มอบเงินให้จำเลยนำไปปล่อยให้บุคคลภายนอกกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะ การที่โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืน ข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวได้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


การมอบเงินให้บุคคลอื่นปล่อยกู้โดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ผิดกฎหมายและไม่สามารถเรียกร้องให้คืนเงิน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6901/2567 การที่โจทก์มอบเงินให้จำเลยนำไปปล่อยให้บุคคลภายนอกกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะ การที่โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืน ข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวได้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568

หมิ่นประมาท ในกลุ่มไลน์ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2564 ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘ ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์เท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖


หมิ่นประมาท ในกลุ่มไลน์ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2564 ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘ ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์เท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖  

 

หากยึดทรัพย์ เพียงพอต่อการชำระค่าเสียหายต่างๆ แล้ว จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2562 เหตุที่โจทก์ขอยึดที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์สองชั้น เลขที่ 28/15 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาด​ ก็เพื่อบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายรายเดือน เดือนละ 8,000 บาท นับแต่วันฟ้อง กับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในคดีที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีหนึ่งเท่านั้น แต่ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น ผู้กระทำยังต้องมีเจตนาพิเศษ​ เพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนด้วย เมื่อปรากฏว่าขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดี​ ทำการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์สองชั้นดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิได้ค่าเสียหายต่าง ๆ และต่อมาขอรับเงินไปเพียง 478,918.72 บาท ยังมีเงินเหลือที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 กว่า 600,000 บาท ดังนั้นในวันที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งพร้อมทาวน์เฮ้าส์สองชั้นอีกหลังหนึ่งเลขที่ 28/13 ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เพียงพอต่อการชำระค่าเสียหายพร้อมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทั้งหมดแก่โจทก์อยู่ก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่ามีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแต่อย่างใด จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


หากยึดทรัพย์ เพียงพอต่อการชำระค่าเสียหายต่างๆ แล้ว จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2562 เหตุที่โจทก์ขอยึดที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์สองชั้น เลขที่ 28/15 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาด​ ก็เพื่อบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายรายเดือน เดือนละ 8,000 บาท นับแต่วันฟ้อง กับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในคดีที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีหนึ่งเท่านั้น แต่ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น ผู้กระทำยังต้องมีเจตนาพิเศษ​ เพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนด้วย เมื่อปรากฏว่าขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดี​ ทำการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์สองชั้นดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิได้ค่าเสียหายต่าง ๆ และต่อมาขอรับเงินไปเพียง 478,918.72 บาท ยังมีเงินเหลือที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 กว่า 600,000 บาท ดังนั้นในวันที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งพร้อมทาวน์เฮ้าส์สองชั้นอีกหลังหนึ่งเลขที่ 28/13 ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เพียงพอต่อการชำระค่าเสียหายพร้อมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทั้งหมดแก่โจทก์อยู่ก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่ามีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแต่อย่างใด จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2568

สามีนำที่ดินสินสมรสไปจดจำนองกับธนาคารโดยภริยาให้ความยินยอม เป็นหนี้ร่วม ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 2018/2567 จำเลยที่ 1 นำที่ดินที่ได้มาในระหว่างสมรสกับจำเลยที่ 2 อันเป็นสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) ไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอม จึงเป็น หนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตามมาตรา 1490 (2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลย ที่ 1 ได้ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่หนี้ ตามสัญญากู้กับโจทก์ตามมาตรา 1490(4) หรือไม่

 


สามีนำที่ดินสินสมรสไปจดจำนองกับธนาคารโดยภริยาให้ความยินยอม เป็นหนี้ร่วม ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 2018/2567 จำเลยที่ 1 นำที่ดินที่ได้มาในระหว่างสมรสกับจำเลยที่ 2 อันเป็นสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) ไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอม จึงเป็น หนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตามมาตรา 1490 (2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลย ที่ 1 ได้ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่หนี้ ตามสัญญากู้กับโจทก์ตามมาตรา 1490(4) หรือไม่


ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2567 บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1722 ที่ว่าผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะอนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล เป็นกรณีที่ใช้บังคับเฉพาะผู้จัดการมรดกที่มิได้เป็นทายาท แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาลแล้วยังเป็นหนึ่งในทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ส. การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ส. ให้แก่ตนเองเป็นส่วนตัวในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่มีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทหรือได้รับอนุญาตจากศาล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นการปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 อันจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 

ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2567 บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1722 ที่ว่าผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะอนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล เป็นกรณีที่ใช้บังคับเฉพาะผู้จัดการมรดกที่มิได้เป็นทายาท แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาลแล้วยังเป็นหนึ่งในทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ส. การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ส. ให้แก่ตนเองเป็นส่วนตัวในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่มีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทหรือได้รับอนุญาตจากศาล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นการปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 อันจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2568

การที่รับจ้างหรือผู้ที่รับจ้างเปิดบัญชีม้า พึงระวัง ท่านอาจมีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จะอ้างว่า ถูกหลอก ใช้ไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2567

 


การที่รับจ้างหรือผู้ที่รับจ้างเปิดบัญชีม้า พึงระวัง ท่านอาจมีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง จะอ้างว่า ถูกหลอก ใช้ไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2567 การรับจ้างเปิดบัญชีแล้วมอบสมดบัญชีเงินฝากให้บุคคลอื่นไปใช้เป็นเรื่องผิดปกติวิสัย ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาร้ายของจำเลย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยเล็งเห็นได้ว่า ค. อาจเป็นผู้รับจัดหาคนมาเปิดบัญชีให้คนร้ายหรือร่วมกับคนร้ายอาจนำสมุดบัญชีเงินฝากของจำเลยไปใช้ในการกระทำความผิดกฎหมายหรือแสวงหาประโยชน์ที่มีควรได้โดยชอบ จำเลยจะอ้างว่าถูกหลอกใช้หาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่คนร้ายได้รับประโยชน์จากบัญชีเงินฝากของจำเลยก่อนและขณะที่คนร้ายร่วมกันฉ้อโกงผู้เสียหายที่ ๒ จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของผู้อื่นฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนคนอื่น ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

คู่สมรส สามี ภรรยา ให้สัตาบันในการก่อหนี้ ต้องเป็นกรณีที่มีหนี้อยู่ก่อนแล้ว หากเป็นหนี้ในอนาคตให้สัตยาบันไม่ได้ การให้สัตยาบันของคู่สมรส สามีหรือภริยา แก่หนี้ที่อีกฝ่ายก่อขึ้นตามมาตรา 1490 (4) ต้องมีหนี้เกิดขึ้นเสียก่อนจึงจะให้สัตยาบันได้ การให้ความยินยอมในขณะที่ยังไม่มีหนี้เกิดขึ้นหรือหนี้ในอนาคต ย่อมไม่ต้องด้วยความหมายของการให้สัตยาบัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2567 การให้ความยินยอมของจำเลยที่ 7 ตามหนังสือยินยอมคู่สมรสจะเป็นการให้ความยินยอมหรือสัตยาบันต่อการกู้เงินตามฟ้องอันเป็นเหตุการณ์ในอนาคตหรือไม่ คงต้องพิจารณาความหมายของคำว่า สัตยาบัน ตามมาตรา 1490(4) เมื่อ ป.พ.พ.มิได้ให้นิยามหรือคำจำกัดความของคำว่าสัตยาบันไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ซึ่งพอสรุปได้ว่า สัตยาบัน คือการยืนยันรับรองความตกลงหรือการรับรองนิติกรรมและเป็นที่เข้าใจกันได้ว่าบุคคลจะยืนยันรับรองความตกลงหรือรับรองนิติกรรมใดได้ ย่อมต้องมีข้อตกลงหรือนิติกรรมเช่นนั้นเกิดขึ้นเสียก่อนแล้วจึงให้สัตยาบัน การให้สัตยาบันของสามีหรือภริยาแก่หนี้ที่อีกฝ่ายก่อขึ้นตามมาตรา 1490(4) ย่อมมีลักษณะเฉกเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ต้องมีหนี้เกิดขึ้นเสียก่อน สามีหรือภริยาถึงจะให้สัตยาบันได้ การให้ความยินยอมในขณะที่ยังไม่มีความตกลง ไม่มีนิติกรรมหรือไม่มีหนี้เกิดขึ้น ย่อมไม่ต้องด้วยความหมายของการให้สัตยาบัน โจทก์ไม่อาจถือเอาหนังสือยินยอมคู่สมรสที่จำเลยที่ 7 ทำได้ต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 มาเป็นการใช้สัตยาบันแก่หนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 และวันที่ 3 มิถุนายน 2558 ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490(4) ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


คู่สมรส สามี ภรรยา ให้สัตาบันในการก่อหนี้ ต้องเป็นกรณีที่มีหนี้อยู่ก่อนแล้ว หากเป็นหนี้ในอนาคตให้สัตยาบันไม่ได้ การให้สัตยาบันของคู่สมรส สามีหรือภริยา แก่หนี้ที่อีกฝ่ายก่อขึ้นตามมาตรา 1490 (4) ต้องมีหนี้เกิดขึ้นเสียก่อนจึงจะให้สัตยาบันได้ การให้ความยินยอมในขณะที่ยังไม่มีหนี้เกิดขึ้นหรือหนี้ในอนาคต ย่อมไม่ต้องด้วยความหมายของการให้สัตยาบัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2567 การให้ความยินยอมของจำเลยที่ 7 ตามหนังสือยินยอมคู่สมรสจะเป็นการให้ความยินยอมหรือสัตยาบันต่อการกู้เงินตามฟ้องอันเป็นเหตุการณ์ในอนาคตหรือไม่ คงต้องพิจารณาความหมายของคำว่า สัตยาบัน ตามมาตรา 1490(4) เมื่อ ป.พ.พ.มิได้ให้นิยามหรือคำจำกัดความของคำว่าสัตยาบันไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ซึ่งพอสรุปได้ว่า  สัตยาบัน คือการยืนยันรับรองความตกลงหรือการรับรองนิติกรรมและเป็นที่เข้าใจกันได้ว่าบุคคลจะยืนยันรับรองความตกลงหรือรับรองนิติกรรมใดได้ ย่อมต้องมีข้อตกลงหรือนิติกรรมเช่นนั้นเกิดขึ้นเสียก่อนแล้วจึงให้สัตยาบัน การให้สัตยาบันของสามีหรือภริยาแก่หนี้ที่อีกฝ่ายก่อขึ้นตามมาตรา 1490(4) ย่อมมีลักษณะเฉกเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ต้องมีหนี้เกิดขึ้นเสียก่อน สามีหรือภริยาถึงจะให้สัตยาบันได้ การให้ความยินยอมในขณะที่ยังไม่มีความตกลง ไม่มีนิติกรรมหรือไม่มีหนี้เกิดขึ้น ย่อมไม่ต้องด้วยความหมายของการให้สัตยาบัน โจทก์ไม่อาจถือเอาหนังสือยินยอมคู่สมรสที่จำเลยที่ 7 ทำได้ต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 มาเป็นการใช้สัตยาบันแก่หนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 และวันที่ 3 มิถุนายน 2558 ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490(4) ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันพุธที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ ๑๖ ร่วมกับ นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะ และที่ปรึกษาภาคประชาชนจังหวัดพะเยา ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ลงพื้นที่ดูงาน การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต : พัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพะเยา ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา




วันพุธที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น.
นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ ๑๖ ร่วมกับ นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะ และที่ปรึกษาภาคประชาชนจังหวัดพะเยา ประกอบด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุทธิชัย ปัญญโรจน์  ลงพื้นที่ดูงาน การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต : พัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพะเยา
ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา


 

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2568

วันพุธที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๔๕ น. นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ ๑๖ นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะ เข้าพบเพื่อหารือข้อราชการกับว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา โดยมีที่ปรึกษาภาคประชาชนจังหวัดพะเยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ให้การต้อนรับและร่วมประชุมพร้อมลงพื้นที่

 







วันพุธที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๔๕ น.

นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ ๑๖

นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมคณะ

เข้าพบเพื่อหารือข้อราชการกับว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา

โดยมีที่ปรึกษาภาคประชาชนจังหวัดพะเยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ให้การต้อนรับและร่วมประชุมพร้อมลงพื้นที่


ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

 








ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน  ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ 

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ผู้ซื้อฝากมีหน้าที่ต้องแจ้งเตือนผู้ขายฝากล่วงหน้า 3-6 เดือนก่อนครบกำหนดสัญญาขายฝาก หากไม่แจ้ง ผู้ขายฝากจะมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์สินได้อีก 6 เดือนนับจากวันสิ้นสุดสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2566 แม้สัญญาขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นก่อน พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อกำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก คือวันที่ 20 เมษายน 2562 เป็นกำหนดไถ่ที่มีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ กรณีย่อมต้องด้วยบทเฉพาะกาลมาตรา 20 ที่กำหนดให้สัญญาขายฝากซึ่งทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับและยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ให้มีผลผูกพันคู่สัญญาต่อไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันทำสัญญาขายฝาก เว้นแต่กรณี (3) ให้นําความในมาตรา 17 มาใช้บังคับกับสัญญาขายฝากที่มีผลบังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ และในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ในสัญญาขายฝากมีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ให้ขยายกำหนดเวลาการไถ่ออกไปเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงต้องขยายระยะเวลาออกไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับ ทำให้จะครบกำหนดไถ่ในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 และเมื่อมาตรา 17 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือน ให้ผู้ซื้อฝากแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝากเพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ หากผู้ซื้อฝากละเลยไม่ดำเนินการดังกล่าว มาตรา 17 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากโดยผู้ขายฝากมีหน้าที่ชําระสินไถ่ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ที่ขยายระยะเวลาออกไปโดยผลของกฎหมายตามที่กล่าวมาจำเลยผู้ซื้อฝากได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ผู้ขายฝากทราบถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือนตามบทบัญญัติมาตรา 17 วรรคหนึ่ง กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากจึงต้องขยายไปอีกหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ตามมาตรา 17 วรรคสอง กล่าวคือ ขยายออกไปอีกจนถึงวันที่ 17 เมษายน 2563 การที่โจทก์ขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต่อจำเลยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จึงยังอยู่ภายในกำหนดไถ่ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 

ผู้ซื้อฝากมีหน้าที่ต้องแจ้งเตือนผู้ขายฝากล่วงหน้า 3-6 เดือนก่อนครบกำหนดสัญญาขายฝาก หากไม่แจ้ง ผู้ขายฝากจะมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์สินได้อีก 6 เดือนนับจากวันสิ้นสุดสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2566 แม้สัญญาขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นก่อน พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อกำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก คือวันที่ 20 เมษายน 2562 เป็นกำหนดไถ่ที่มีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ กรณีย่อมต้องด้วยบทเฉพาะกาลมาตรา 20 ที่กำหนดให้สัญญาขายฝากซึ่งทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับและยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ให้มีผลผูกพันคู่สัญญาต่อไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันทำสัญญาขายฝาก เว้นแต่กรณี (3) ให้นําความในมาตรา 17 มาใช้บังคับกับสัญญาขายฝากที่มีผลบังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ และในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ในสัญญาขายฝากมีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ให้ขยายกำหนดเวลาการไถ่ออกไปเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงต้องขยายระยะเวลาออกไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับ ทำให้จะครบกำหนดไถ่ในวันที่ 17 ตุลาคม 2562                    และเมื่อมาตรา 17 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือน ให้ผู้ซื้อฝากแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝากเพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ หากผู้ซื้อฝากละเลยไม่ดำเนินการดังกล่าว มาตรา 17 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากโดยผู้ขายฝากมีหน้าที่ชําระสินไถ่ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา                    เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ที่ขยายระยะเวลาออกไปโดยผลของกฎหมายตามที่กล่าวมาจำเลยผู้ซื้อฝากได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ผู้ขายฝากทราบถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือนตามบทบัญญัติมาตรา 17 วรรคหนึ่ง กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากจึงต้องขยายไปอีกหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ตามมาตรา 17 วรรคสอง กล่าวคือ ขยายออกไปอีกจนถึงวันที่ 17 เมษายน 2563 การที่โจทก์ขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต่อจำเลยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จึงยังอยู่ภายในกำหนดไถ่ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2568

“ผู้ต้องหา” และ “จำเลย” มีความแตกต่างกันอย่างไร ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 “ผู้ต้องหา” หมายความถึงบุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล “จำเลย” หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 

“ผู้ต้องหา” และ “จำเลย”  มีความแตกต่างกันอย่างไร ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 “ผู้ต้องหา” หมายความถึงบุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล “จำเลย” หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com


วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2568

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2567 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย

 

ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกคนละ 2 เดือน โจทก์และโจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่า จำคุกคนละ 6 เดือนและปรับคนละ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2567 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย ให้ลงโทษจำคุกคนละ 2 เดือน โจทก์และโจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย เป็นจำคุกคนละ 6 เดือน และปรับคนละ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี เช่นนี้ ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยทั้งสองไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2568

สัญญากู้ยืมเงินถูก เจ้าหนี้ขีดแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืมเงินภายหลังโดยเจ้าหนี้ได้ลงลายมือชื่อกำกับ แต่ไม่ได้ลงวันที่กำกับการแก้ไขไว้ในสัญญาให้ถือว่าจำนวนเงินที่ปรากฏในสัญญา (หลังการแก้ไข) เป็นจำนวนเงินที่ตกลงกันในวันทำสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6656/2567 การกู้ยืมเงินตามสำเนาสัญญากู้ยืมเงินทั่วไป 2 ฉบับ ทำขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 จำนวน 700,000 บาท และ 300,000 บาท ตามลำดับ โดยจำเลยได้รับเงินแล้วในวันทำสัญญาแล้ว 1,000,000 บาท ต่อมาวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 จำเลยโอนเงินให้โจทก์ 500,000 บาท โจทก์จึงขีดแก้ไขจำนวนเงินจาก 700,000 บาท เป็น 200,000 บาท ในสัญญากู้ยืมเงินและลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ไม่มีการลงวันที่กำกับการแก้ไขจำนวนเงิน จึงต้องฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ โดยระบุจำนวนเงินในวันทำสัญญาเพียง 200,000 บาท โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โดยระบุจำนวนเงินในวันทำสัญญา 700,000 บาท การนำสืบของโจทก์ว่าจำนวนเงินกู้ที่ถูกแก้ไขมีอยู่ในวันทำสัญญา แล้วมีการแก้ไขจำนวนเงินกู้ในภายหลัง โดยให้รับฟังจากคำเบิกความของโจทก์ ย่อมเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


สัญญากู้ยืมเงินถูก เจ้าหนี้ขีดแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืมเงินภายหลังโดยเจ้าหนี้ได้ลงลายมือชื่อกำกับ แต่ไม่ได้ลงวันที่กำกับการแก้ไขไว้ในสัญญาให้ถือว่าจำนวนเงินที่ปรากฏในสัญญา (หลังการแก้ไข) เป็นจำนวนเงินที่ตกลงกันในวันทำสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6656/2567 การกู้ยืมเงินตามสำเนาสัญญากู้ยืมเงินทั่วไป 2 ฉบับ ทำขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 จำนวน 700,000 บาท และ 300,000 บาท ตามลำดับ โดยจำเลยได้รับเงินแล้วในวันทำสัญญาแล้ว 1,000,000 บาท ต่อมาวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 จำเลยโอนเงินให้โจทก์ 500,000 บาท โจทก์จึงขีดแก้ไขจำนวนเงินจาก 700,000 บาท เป็น 200,000 บาท ในสัญญากู้ยืมเงินและลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ไม่มีการลงวันที่กำกับการแก้ไขจำนวนเงิน จึงต้องฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ โดยระบุจำนวนเงินในวันทำสัญญาเพียง 200,000 บาท โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โดยระบุจำนวนเงินในวันทำสัญญา 700,000 บาท การนำสืบของโจทก์ว่าจำนวนเงินกู้ที่ถูกแก้ไขมีอยู่ในวันทำสัญญา แล้วมีการแก้ไขจำนวนเงินกู้ในภายหลัง โดยให้รับฟังจากคำเบิกความของโจทก์ ย่อมเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันที่ 13 มิถุนายน 2568 ขอขอบคุณสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย สาขาพานที่เชิญบรรยาย ณ โรงเรียนพานพิทยาคม เชียงราย หัวข้อ " กฎหมายจราจร การขับขี่อย่างปลอดภัย " ให้กับน้องๆนักเรียน

 










วันที่ 13 มิถุนายน 2568 ขอขอบคุณสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย สาขาพานที่เชิญบรรยาย ณ โรงเรียนพานพิทยาคม เชียงราย หัวข้อ " กฎหมายจราจร การขับขี่อย่างปลอดภัย " ให้กับน้องๆนักเรียน


วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2568

โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งโจทก์ ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และไม่มีอำนาจฟ้องศาลก็ต้องวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937/2566 ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกให้คืนเงินค่ามัดจำ ค่าสินค้าที่รื้อถอนจากโรงงานพิพาทตามสัญญาและ ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนโรงงาน พิพาทที่จำเลยที่ 1 ได้สำรองจ่ายแทนโจทก์ไปตามบันทึกข้อตกลง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่าย ผิดสัญญาจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลก็ต้องวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ต่อไป ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไม่ตกไป ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 


โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งโจทก์ ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และไม่มีอำนาจฟ้องศาลก็ต้องวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937/2566 ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกให้คืนเงินค่ามัดจำ ค่าสินค้าที่รื้อถอนจากโรงงานพิพาทตามสัญญาและ ค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนโรงงาน พิพาทที่จำเลยที่ 1 ได้สำรองจ่ายแทนโจทก์ไปตามบันทึกข้อตกลง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่าย ผิดสัญญาจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลก็ต้องวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ต่อไป ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไม่ตกไป ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

ข้อความในพินัยกรรมที่มีพิมพ์บาง เขียนบ้าง ถือว่าเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ เนื่องจากมีความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องผู้ทำพินัยกรรมและผู้พิมพ์/ผู้เขียน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567 แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่าหนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการโดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เองปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 ป.พ.พ.มาตรา 1646 บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ มาตรา 1647 การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้นย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม มาตรา ๑๖๕๗ พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ กล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้ บทบัญญัติมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 

ข้อความในพินัยกรรมที่มีพิมพ์บาง เขียนบ้าง ถือว่าเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ เนื่องจากมีความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องผู้ทำพินัยกรรมและผู้พิมพ์/ผู้เขียน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567 แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่าหนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการโดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เองปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 ป.พ.พ.มาตรา 1646  บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ มาตรา 1647  การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้นย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม มาตรา ๑๖๕๗  พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ กล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน                การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้                บทบัญญัติมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ขาดอายุความ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2519 โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน สัญญากู้ข้อ 3 กำหนดให้ใช้ต้นเงินคืนวันที่ 4 มิถุนายน 2508 สัญญาข้อ 4 กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทุกเดือน และในสัญญาข้อ 6 มีความว่า "แม้ว่าข้าพเจ้า (จำเลย) ประพฤติผิดสัญญานี้แต่ข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ยอมให้ท่าน (โจทก์) ฟ้องร้องเรียก6 นี้ ถ้าจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยในเดือนใด นับแต่วันนั้นโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แล้ว ไม่จำต้องรอจนครบกำหนดวันใช้ต้นเงินคืนตามสัญญาข้อ 3 จำเลยผิดนัดไม่นำดอกเบี้ยมาชำระให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 4กรกฎาคม 2507 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้และดอกเบี้ยในวันที่ 9 กันยายน 2517 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 


ขาดอายุความ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2519 โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน สัญญากู้ข้อ 3 กำหนดให้ใช้ต้นเงินคืนวันที่ 4 มิถุนายน 2508 สัญญาข้อ 4 กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทุกเดือน และในสัญญาข้อ 6 มีความว่า "แม้ว่าข้าพเจ้า (จำเลย) ประพฤติผิดสัญญานี้แต่ข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ยอมให้ท่าน (โจทก์) ฟ้องร้องเรียก6 นี้ ถ้าจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยในเดือนใด นับแต่วันนั้นโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แล้ว ไม่จำต้องรอจนครบกำหนดวันใช้ต้นเงินคืนตามสัญญาข้อ 3 จำเลยผิดนัดไม่นำดอกเบี้ยมาชำระให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 4กรกฎาคม 2507 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้และดอกเบี้ยในวันที่ 9 กันยายน 2517 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2568

สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2537 จำเลยซื้อที่ดินโดยหลงเชื่อตามที่โจทก์ฉ้อฉลว่าที่ดินติดถนนสาธารณะ ไม่มีที่ดินแปลงอื่นคั่นอยู่ ความจริงที่ดินมิได้อยู่ติดถนนสาธารณะ


สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2537 จำเลยซื้อที่ดินโดยหลงเชื่อตามที่โจทก์ฉ้อฉลว่าที่ดินติดถนนสาธารณะ ไม่มีที่ดินแปลงอื่นคั่นอยู่ ความจริงที่ดินมิได้อยู่ติดถนนสาธารณะ ถือว่าจำเลยแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่จะซื้อ ทำให้สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆียะ โมฆะ หมายความว่า เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมายหรือ นิติกรรมที่มีผลสูญเปล่าเสมือนหนึ่งว่าคู่สัญญา ไม่เคยได้ทำนิติกรรมใดๆต่อกันเลย โมฆียะ หมายความว่า อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมีการให้สัตยาบัน ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com  

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2542 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท จำเลยทั้งสามไม่ได้นำพาที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบ 10 ปี ก็ไม่ได้ทำให้สัญญาสิทธิอาศัย ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เสียไปจนไม่สามารถใช้บังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ สิทธิของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในห้องชุดพิพาทตามสิทธิอาศัยดังกล่าวมีอยู่ก่อนหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสมคบกัน กระทำการโดยไม่สุจริตโดยรู้อยู่ว่าเป็นการฉ้อฉลโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ โจทก์ฎีกาว่า สัญญาสิทธิอาศัยเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายห้องชุดพิพาทเป็นการแสดงเจตนาลวง เพราะจำเลยไม่ต้องผูกพันตามสัญญาสิทธิอาศัย จึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาฎีกา ดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2542 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท จำเลยทั้งสามไม่ได้นำพาที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิอาศัยห้องชุดพิพาท โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบ 10 ปี ก็ไม่ได้ทำให้สัญญาสิทธิอาศัย ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เสียไปจนไม่สามารถใช้บังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ สิทธิของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในห้องชุดพิพาทตามสิทธิอาศัยดังกล่าวมีอยู่ก่อนหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามสมคบกัน กระทำการโดยไม่สุจริตโดยรู้อยู่ว่าเป็นการฉ้อฉลโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ โจทก์ฎีกาว่า สัญญาสิทธิอาศัยเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายห้องชุดพิพาทเป็นการแสดงเจตนาลวง เพราะจำเลยไม่ต้องผูกพันตามสัญญาสิทธิอาศัย จึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาฎีกา ดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2568

สัญญาประนีประนอมนอกศาลกับในศาล คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2511 จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ยอมออกจากห้องพิพาทภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมและมีคำบังคับแล้ว ภายหลังจำเลยจะอ้างว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความกับตัวแทนโจทก์นอกศาลซึ่งทำไว้ก่อน และมีเงื่อนไขแตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล เพื่อเป็นเหตุไม่ปฏิบัติตามคำบังคับหาได้ไม่ หากจะมีสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล ซึ่งทำไว้ก่อนจริง ก็ถูกยกเลิกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับหลัง ซึ่งศาลพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญานั้นแล้ว ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 


สัญญาประนีประนอมนอกศาลกับในศาล คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2511 จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ยอมออกจากห้องพิพาทภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมและมีคำบังคับแล้ว ภายหลังจำเลยจะอ้างว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความกับตัวแทนโจทก์นอกศาลซึ่งทำไว้ก่อน และมีเงื่อนไขแตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล เพื่อเป็นเหตุไม่ปฏิบัติตามคำบังคับหาได้ไม่ หากจะมีสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล ซึ่งทำไว้ก่อนจริง ก็ถูกยกเลิกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับหลัง ซึ่งศาลพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญานั้นแล้ว ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com