วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

การอธิษฐานไม่ได้เปลี่ยนแปลงโลก แต่เปลี่ยนภายในใจของคนที่อธิษฐาน ให้พบกับความสงบ ความสุข ความนิ่งภายในใจ เมื่อพบกับทางตันของชีวิต ลองอธิษฐานแล้วท่านอาจจะได้รับคำตอบที่ไม่อาจคาดถึง #อาจารย์โทนี่ #อาจารย์สุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com


การอธิษฐานไม่ได้เปลี่ยนแปลงโลก แต่เปลี่ยนภายในใจของคนที่อธิษฐาน ให้พบกับความสงบ  ความสุข ความนิ่งภายในใจ เมื่อพบกับทางตันของชีวิต ลองอธิษฐานแล้วท่านอาจจะได้รับคำตอบที่ไม่อาจคาดถึง #อาจารย์โทนี่ #อาจารย์สุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 

ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะ การใช้สิทธิผ่านทางจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการใช้โดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเดิม แม้จะใช้นานเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่เป็นภาระจำยอม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2564 โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณปี 2544 จำเลยทั้งสี่ให้สภาตำบลศรีพรานทำถนนดินระหว่างที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสี่โดยงบประมาณของสภาตำบลศรีพราน ต่อมาก็นำงบประมาณมาทำเป็นถนนคอนกรีตเพื่อให้เป็นเส้นทางเดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ และประชาชนทั่วไปเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ทั้งในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลศรีพรานเป็นผู้ก่อสร้างถนนพิพาทตั้งแต่ปี 2548 แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะมาตั้งแต่ต้น การใช้สิทธิผ่านทางพิพาทของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการใช้โดยปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาท เพื่อให้ได้สิทธิภาระจำยอมแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้หากจะฟังว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่เป็นภาระจำยอมเพื่ออสังหาริมทรัพย์แก่ที่ดินของโจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์’ มาตรา 1401 ภาระจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 

ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะ การใช้สิทธิผ่านทางจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการใช้โดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเดิม แม้จะใช้นานเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่เป็นภาระจำยอม 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2564
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณปี 2544 จำเลยทั้งสี่ให้สภาตำบลศรีพรานทำถนนดินระหว่างที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสี่โดยงบประมาณของสภาตำบลศรีพราน ต่อมาก็นำงบประมาณมาทำเป็นถนนคอนกรีตเพื่อให้เป็นเส้นทางเดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ และประชาชนทั่วไปเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ทั้งในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลศรีพรานเป็นผู้ก่อสร้างถนนพิพาทตั้งแต่ปี 2548 แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะมาตั้งแต่ต้น การใช้สิทธิผ่านทางพิพาทของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการใช้โดยปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาท เพื่อให้ได้สิทธิภาระจำยอมแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้หากจะฟังว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่เป็นภาระจำยอมเพื่ออสังหาริมทรัพย์แก่ที่ดินของโจทก์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์’
มาตรา 1401 ภาระจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

อุทิศที่ดินให้กับทางราชการหรือยินยอมให้ทางราชการเข้าไปดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์โดยมีเงื่อนไข เมื่อทางราชการมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เจ้าของเดิมสามารถฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2563 หนังสือแสดงความประสงค์เรื่อง การอุทิศที่ดินให้กับทางราชการหรือยินยอมให้ทางราชการเข้าไปดำเนินการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทำขึ้นระหว่างโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้บริจาคกับจำเลยในฐานะผู้รับบริจาค แม้จะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ระบุไว้ในหนังสือแสดงความประสงค์ดังกล่าว เมื่อการยกให้ แก่จำเลยเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจะตกเป็นของทางราชการและตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ต่อเมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยไม่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือแสดงความประสงค์ ก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงได้ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 


อุทิศที่ดินให้กับทางราชการหรือยินยอมให้ทางราชการเข้าไปดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์โดยมีเงื่อนไข  เมื่อทางราชการมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เจ้าของเดิมสามารถฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2563
หนังสือแสดงความประสงค์เรื่อง การอุทิศที่ดินให้กับทางราชการหรือยินยอมให้ทางราชการเข้าไปดำเนินการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทำขึ้นระหว่างโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้บริจาคกับจำเลยในฐานะผู้รับบริจาค แม้จะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ระบุไว้ในหนังสือแสดงความประสงค์ดังกล่าว เมื่อการยกให้ แก่จำเลยเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจะตกเป็นของทางราชการและตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ต่อเมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยไม่ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือแสดงความประสงค์ ก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทยังไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงได้
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2562 ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงิน ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557 ผู้ร้องสอดตกลงทำสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณาจำนวน 900 ต้น ซึ่งจำเลยปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว และผู้ร้องสอดชำระค่าต้นไม้กฤษณาให้แก่จำเลยแล้วในวันทำสัญญา ต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน หากจำเลยไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่าต้นไม้กฤษณาดังกล่าวไม่เป็นทรัพย์สินที่โจทก์จะบังคับจำนองได้ #ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคแรก จะบัญญัติว่า "ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกหรือขึ้นอยู่" ก็ตาม แต่หากเมื่อใดผู้ปลูกตัดไม้ยืนต้นออกไปจากที่ดินต้องถือว่านับตั้งแต่นั้นผู้ปลูกมีเจตนาจะให้ไม้ยืนต้นอยู่ติดกับที่ดินเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งอันมีจำกัดเป็นการชั่วคราว ไม้ยืนต้นที่ถูกตัดไปย่อมหมดสภาพการเป็นทรัพย์ส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 แม้จะได้ความตามว่าไม้กฤษณาที่ปลูกดังกล่าวเป็นต้นไม้มีอายุหลายปีโดยสภาพเป็นไม้ยืนต้นในที่ดินของจำเลยตั้งแต่ก่อนจำเลยจำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ แต่เมื่อพิจารณาสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณาระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลย อันมีสาระสำคัญแห่งข้อตกลงด้วยว่า ให้ผู้ร้องสอดผู้ซื้อตัดต้นไม้กฤษณาในที่ดินและนำออกจากที่ดินจำเลยมีกำหนดเวลา 4 ปี ต้นไม้กฤษณาที่เกษตรกรปลูกโดยทั่วไปจะมีระยะตั้งแต่เวลาปลูกต้นกล้า จนฉีดสารเร่งและตัดได้ประมาณ 6-7 ปี เมื่อตัดต้นไม้กฤษณาออกไปจากลำต้น ต้นไม้กฤษณาสามารถแตกแขนงรอบๆโคนต้นได้ แต่ไม้กฤษณาเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น เมื่อโดนลมก็จะหักง่าย จึงไม่สามารถปล่อยให้กิ่งแตกแขนงขึ้นมาและใช้ประโยชน์ใดๆได้ เกษตรกรจึงใช้วิธีไถกลบและปลูกต้นกล้าใหม่เท่านั้น พฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดว่า ต้นไม้กฤษณาที่จำเลยปลูกในที่ดินเป็นการปลูกไว้เพียงชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อต้นไม้กฤษณาโตได้ขนาดก็จะตัดโค่นนำแก่นไปสกัดเป็นน้ำหอม ซึ่งบุคคลปกติทั่วไปรวมทั้งโจทย์อาจเล็งเห็นได้ ต้นไม้กฤษณาที่ปลูกลงในที่ดินจึงเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่จำเลยนำไปจำนองไว้แก่โจทก์ ต่างจากส่วนโคนต้น ซึ่งหากไม่มีการไถกลบไปก็อาจเป็นส่วนควบกับที่ดิน ดังนี้ เมื่อผู้ร้องสอดตกลงทำสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณา และชำระเงินแก่จำเลยแล้วดังกล่าวไปข้างต้น กรรมสิทธิ์ในต้นไม้กฤษณาย่อมตกได้แก่ผู้ร้องสอดตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย วันที่ 10 มีนาคม 2557 แล้ว ผู้ร้องสอดชอบที่จะตัดต้นไม้กฤษณาจากที่พิพาทได้ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับจำนองเอาจากส่วนของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอก __________ ที่มา: คำพิพากษาศาลฎีกา พุทธศักราช 2562 เล่มที่ 10 หน้า 59-62 #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2562
ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงิน
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557 ผู้ร้องสอดตกลงทำสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณาจำนวน 900 ต้น ซึ่งจำเลยปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว และผู้ร้องสอดชำระค่าต้นไม้กฤษณาให้แก่จำเลยแล้วในวันทำสัญญา
ต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน หากจำเลยไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่าต้นไม้กฤษณาดังกล่าวไม่เป็นทรัพย์สินที่โจทก์จะบังคับจำนองได้
#ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคแรก จะบัญญัติว่า "ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกหรือขึ้นอยู่" ก็ตาม 
แต่หากเมื่อใดผู้ปลูกตัดไม้ยืนต้นออกไปจากที่ดินต้องถือว่านับตั้งแต่นั้นผู้ปลูกมีเจตนาจะให้ไม้ยืนต้นอยู่ติดกับที่ดินเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งอันมีจำกัดเป็นการชั่วคราว ไม้ยืนต้นที่ถูกตัดไปย่อมหมดสภาพการเป็นทรัพย์ส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146
แม้จะได้ความตามว่าไม้กฤษณาที่ปลูกดังกล่าวเป็นต้นไม้มีอายุหลายปีโดยสภาพเป็นไม้ยืนต้นในที่ดินของจำเลยตั้งแต่ก่อนจำเลยจำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
แต่เมื่อพิจารณาสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณาระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลย อันมีสาระสำคัญแห่งข้อตกลงด้วยว่า ให้ผู้ร้องสอดผู้ซื้อตัดต้นไม้กฤษณาในที่ดินและนำออกจากที่ดินจำเลยมีกำหนดเวลา 4 ปี
ต้นไม้กฤษณาที่เกษตรกรปลูกโดยทั่วไปจะมีระยะตั้งแต่เวลาปลูกต้นกล้า จนฉีดสารเร่งและตัดได้ประมาณ 6-7 ปี เมื่อตัดต้นไม้กฤษณาออกไปจากลำต้น ต้นไม้กฤษณาสามารถแตกแขนงรอบๆโคนต้นได้ แต่ไม้กฤษณาเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น เมื่อโดนลมก็จะหักง่าย จึงไม่สามารถปล่อยให้กิ่งแตกแขนงขึ้นมาและใช้ประโยชน์ใดๆได้ เกษตรกรจึงใช้วิธีไถกลบและปลูกต้นกล้าใหม่เท่านั้น
พฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดว่า ต้นไม้กฤษณาที่จำเลยปลูกในที่ดินเป็นการปลูกไว้เพียงชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อต้นไม้กฤษณาโตได้ขนาดก็จะตัดโค่นนำแก่นไปสกัดเป็นน้ำหอม ซึ่งบุคคลปกติทั่วไปรวมทั้งโจทย์อาจเล็งเห็นได้
ต้นไม้กฤษณาที่ปลูกลงในที่ดินจึงเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่จำเลยนำไปจำนองไว้แก่โจทก์ 
ต่างจากส่วนโคนต้น ซึ่งหากไม่มีการไถกลบไปก็อาจเป็นส่วนควบกับที่ดิน
ดังนี้ เมื่อผู้ร้องสอดตกลงทำสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณา และชำระเงินแก่จำเลยแล้วดังกล่าวไปข้างต้น กรรมสิทธิ์ในต้นไม้กฤษณาย่อมตกได้แก่ผู้ร้องสอดตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย วันที่ 10 มีนาคม 2557 แล้ว 
ผู้ร้องสอดชอบที่จะตัดต้นไม้กฤษณาจากที่พิพาทได้ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับจำนองเอาจากส่วนของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
__________
ที่มา: คำพิพากษาศาลฎีกา พุทธศักราช 2562 เล่มที่ 10 หน้า 59-62
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2562 ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงิน ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557 ผู้ร้องสอดตกลงทำสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณาจำนวน 900 ต้น ซึ่งจำเลยปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว และผู้ร้องสอดชำระค่าต้นไม้กฤษณาให้แก่จำเลยแล้วในวันทำสัญญา ต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน หากจำเลยไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่าต้นไม้กฤษณาดังกล่าวไม่เป็นทรัพย์สินที่โจทก์จะบังคับจำนองได้ #ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคแรก จะบัญญัติว่า "ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกหรือขึ้นอยู่" ก็ตาม แต่หากเมื่อใดผู้ปลูกตัดไม้ยืนต้นออกไปจากที่ดินต้องถือว่านับตั้งแต่นั้นผู้ปลูกมีเจตนาจะให้ไม้ยืนต้นอยู่ติดกับที่ดินเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งอันมีจำกัดเป็นการชั่วคราว ไม้ยืนต้นที่ถูกตัดไปย่อมหมดสภาพการเป็นทรัพย์ส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 แม้จะได้ความตามว่าไม้กฤษณาที่ปลูกดังกล่าวเป็นต้นไม้มีอายุหลายปีโดยสภาพเป็นไม้ยืนต้นในที่ดินของจำเลยตั้งแต่ก่อนจำเลยจำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ แต่เมื่อพิจารณาสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณาระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลย อันมีสาระสำคัญแห่งข้อตกลงด้วยว่า ให้ผู้ร้องสอดผู้ซื้อตัดต้นไม้กฤษณาในที่ดินและนำออกจากที่ดินจำเลยมีกำหนดเวลา 4 ปี ต้นไม้กฤษณาที่เกษตรกรปลูกโดยทั่วไปจะมีระยะตั้งแต่เวลาปลูกต้นกล้า จนฉีดสารเร่งและตัดได้ประมาณ 6-7 ปี เมื่อตัดต้นไม้กฤษณาออกไปจากลำต้น ต้นไม้กฤษณาสามารถแตกแขนงรอบๆโคนต้นได้ แต่ไม้กฤษณาเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น เมื่อโดนลมก็จะหักง่าย จึงไม่สามารถปล่อยให้กิ่งแตกแขนงขึ้นมาและใช้ประโยชน์ใดๆได้ เกษตรกรจึงใช้วิธีไถกลบและปลูกต้นกล้าใหม่เท่านั้น พฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดว่า ต้นไม้กฤษณาที่จำเลยปลูกในที่ดินเป็นการปลูกไว้เพียงชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อต้นไม้กฤษณาโตได้ขนาดก็จะตัดโค่นนำแก่นไปสกัดเป็นน้ำหอม ซึ่งบุคคลปกติทั่วไปรวมทั้งโจทย์อาจเล็งเห็นได้ ต้นไม้กฤษณาที่ปลูกลงในที่ดินจึงเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่จำเลยนำไปจำนองไว้แก่โจทก์ ต่างจากส่วนโคนต้น ซึ่งหากไม่มีการไถกลบไปก็อาจเป็นส่วนควบกับที่ดิน ดังนี้ เมื่อผู้ร้องสอดตกลงทำสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณา และชำระเงินแก่จำเลยแล้วดังกล่าวไปข้างต้น กรรมสิทธิ์ในต้นไม้กฤษณาย่อมตกได้แก่ผู้ร้องสอดตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย วันที่ 10 มีนาคม 2557 แล้ว ผู้ร้องสอดชอบที่จะตัดต้นไม้กฤษณาจากที่พิพาทได้ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับจำนองเอาจากส่วนของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอก __________ ที่มา: คำพิพากษาศาลฎีกา พุทธศักราช 2562 เล่มที่ 10 หน้า 59-62 #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2562
ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงิน
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557 ผู้ร้องสอดตกลงทำสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณาจำนวน 900 ต้น ซึ่งจำเลยปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว และผู้ร้องสอดชำระค่าต้นไม้กฤษณาให้แก่จำเลยแล้วในวันทำสัญญา
ต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน หากจำเลยไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่าต้นไม้กฤษณาดังกล่าวไม่เป็นทรัพย์สินที่โจทก์จะบังคับจำนองได้
#ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคแรก จะบัญญัติว่า "ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกหรือขึ้นอยู่" ก็ตาม 
แต่หากเมื่อใดผู้ปลูกตัดไม้ยืนต้นออกไปจากที่ดินต้องถือว่านับตั้งแต่นั้นผู้ปลูกมีเจตนาจะให้ไม้ยืนต้นอยู่ติดกับที่ดินเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งอันมีจำกัดเป็นการชั่วคราว ไม้ยืนต้นที่ถูกตัดไปย่อมหมดสภาพการเป็นทรัพย์ส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146
แม้จะได้ความตามว่าไม้กฤษณาที่ปลูกดังกล่าวเป็นต้นไม้มีอายุหลายปีโดยสภาพเป็นไม้ยืนต้นในที่ดินของจำเลยตั้งแต่ก่อนจำเลยจำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
แต่เมื่อพิจารณาสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณาระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลย อันมีสาระสำคัญแห่งข้อตกลงด้วยว่า ให้ผู้ร้องสอดผู้ซื้อตัดต้นไม้กฤษณาในที่ดินและนำออกจากที่ดินจำเลยมีกำหนดเวลา 4 ปี
ต้นไม้กฤษณาที่เกษตรกรปลูกโดยทั่วไปจะมีระยะตั้งแต่เวลาปลูกต้นกล้า จนฉีดสารเร่งและตัดได้ประมาณ 6-7 ปี เมื่อตัดต้นไม้กฤษณาออกไปจากลำต้น ต้นไม้กฤษณาสามารถแตกแขนงรอบๆโคนต้นได้ แต่ไม้กฤษณาเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น เมื่อโดนลมก็จะหักง่าย จึงไม่สามารถปล่อยให้กิ่งแตกแขนงขึ้นมาและใช้ประโยชน์ใดๆได้ เกษตรกรจึงใช้วิธีไถกลบและปลูกต้นกล้าใหม่เท่านั้น
พฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดว่า ต้นไม้กฤษณาที่จำเลยปลูกในที่ดินเป็นการปลูกไว้เพียงชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อต้นไม้กฤษณาโตได้ขนาดก็จะตัดโค่นนำแก่นไปสกัดเป็นน้ำหอม ซึ่งบุคคลปกติทั่วไปรวมทั้งโจทย์อาจเล็งเห็นได้
ต้นไม้กฤษณาที่ปลูกลงในที่ดินจึงเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่จำเลยนำไปจำนองไว้แก่โจทก์ 
ต่างจากส่วนโคนต้น ซึ่งหากไม่มีการไถกลบไปก็อาจเป็นส่วนควบกับที่ดิน
ดังนี้ เมื่อผู้ร้องสอดตกลงทำสัญญาซื้อขายต้นไม้กฤษณา และชำระเงินแก่จำเลยแล้วดังกล่าวไปข้างต้น กรรมสิทธิ์ในต้นไม้กฤษณาย่อมตกได้แก่ผู้ร้องสอดตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย วันที่ 10 มีนาคม 2557 แล้ว 
ผู้ร้องสอดชอบที่จะตัดต้นไม้กฤษณาจากที่พิพาทได้ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับจำนองเอาจากส่วนของผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
__________
ที่มา: คำพิพากษาศาลฎีกา พุทธศักราช 2562 เล่มที่ 10 หน้า 59-62
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com


ความผิดฐานให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2565 ความผิดฐานให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วในทันทีที่จำเลยให้ผู้เสียหายทั้งห้ากู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มิใช่ว่าจำเลยจะต้องได้รับดอกเบี้ยจากผู้เสียหายทั้งห้าก่อน พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ม. 4 (1) มาตรา๔ บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทําการใดๆอันมีลักษณะเป็นการอําพรางการให้กู้ยืมเงินโดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ (๑) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกําหนดไว้ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ www.drsuthichai.com

 


ความผิดฐานให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2565
ความผิดฐานให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เกิดขึ้นและสำเร็จแล้วในทันทีที่จำเลยให้ผู้เสียหายทั้งห้ากู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มิใช่ว่าจำเลยจะต้องได้รับดอกเบี้ยจากผู้เสียหายทั้งห้าก่อน
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ม. 4 (1)
มาตรา๔ บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทําการใดๆอันมีลักษณะเป็นการอําพรางการให้กู้ยืมเงินโดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกําหนดไว้
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com


การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดี ไม่จำต้องมีในขณะกู้ยืมกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือภายหลัง แต่ก่อนฟ้องร้องบังคับคดีก็เป็นอันใช้บังคับได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2280/2567 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไป และหลักฐานเป็นหนังสือเป็นหนังสือที่กฎหมายบังคับให้ต้องมี มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ โดยไม่จำต้องมีในขณะกู้ยืมกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือภายหลัง แต่ก่อนฟ้องร้องบังคับคดีก็เป็นอันใช้บังคับได้ และคำฟ้องในคดีอาญาของจำเลย ถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์สามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดี ไม่จำต้องมีในขณะกู้ยืมกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือภายหลัง แต่ก่อนฟ้องร้องบังคับคดีก็เป็นอันใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2280/2567
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง การกู้ยืมเงินที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องร้องบังคับคดีต้องเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไป และหลักฐานเป็นหนังสือเป็นหนังสือที่กฎหมายบังคับให้ต้องมี มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ โดยไม่จำต้องมีในขณะกู้ยืมกัน แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือภายหลัง แต่ก่อนฟ้องร้องบังคับคดีก็เป็นอันใช้บังคับได้ และคำฟ้องในคดีอาญาของจำเลย ถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์สามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


สถานที่ใดจะเป็นสาธารณสถานหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2520 สถานที่ใดจะเป็นสาธารณสถานหรือไม่ ไม่ต้องคำนึงว่าสถานที่นั้นจะเป็นสถานที่ผิดกฎหมาย เช่นสถานการค้าประเวณีหรือไม่เพียงแต่พิจารณาว่าสถานที่นั้นประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้หรือไม่และต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ถ้าประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ สถานที่นั้นก็เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน ได้ความว่าเจ้าของสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีมิได้หวงห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะไปหาความสุขกับหญิงโสเภณี หรือไปธุระอื่นที่จะเข้าไปในห้องโถงซึ่งใช้เป็นที่รับแขกในสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีนั้นห้องโถงจึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน พนักงานตำรวจมีอำนาจค้นและจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93,78(3) จำเลยมีและใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140, 289(2),80,52(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519) #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 




สถานที่ใดจะเป็นสาธารณสถานหรือไม่ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2520
สถานที่ใดจะเป็นสาธารณสถานหรือไม่ ไม่ต้องคำนึงว่าสถานที่นั้นจะเป็นสถานที่ผิดกฎหมาย เช่นสถานการค้าประเวณีหรือไม่เพียงแต่พิจารณาว่าสถานที่นั้นประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้หรือไม่และต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ถ้าประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ สถานที่นั้นก็เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน
ได้ความว่าเจ้าของสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีมิได้หวงห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะไปหาความสุขกับหญิงโสเภณี หรือไปธุระอื่นที่จะเข้าไปในห้องโถงซึ่งใช้เป็นที่รับแขกในสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีนั้นห้องโถงจึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน พนักงานตำรวจมีอำนาจค้นและจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93,78(3) จำเลยมีและใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140, 289(2),80,52(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519)
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ คนเราทุกคนเกิดมาอาจจะไม่เท่าเทียมกัน รวยไม่เท่ากัน มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่เท่ากัน แต่จะทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างความยุติธรรม สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


ความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ

คนเราทุกคนเกิดมาอาจจะไม่เท่าเทียมกัน

รวยไม่เท่ากัน มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่เท่ากัน แต่จะทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน

กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างความยุติธรรม สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม 

#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


ขอมีภริยาน้อย คำพิพากษาฎีกาที่ 1437/2565 ในวันเกิดเหตุผู้ตายทะเลาะกับจำเลย โดยผู้ตายขอมีภริยาน้อย พูดจาดูถูกเหยียดหยามบุพการีจำเลย ไล่จำเลยให้ออกจากบ้านและผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลย ซึ่งการที่ผู้ตายด่าว่าจำเลยที่เป็นภริยาในลักษณะดูถูกเหยียดหยามและขอมีภริยาน้อยทั้งด่าไปถึงบุพการีของจำเลยและทำร้ายจำเลยเช่นนั้น ย่อมทำให้จำเลยรู้สึกแค้นเคืองเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย โดยขณะ พ. เข้ามาช่วยผู้ตายจำเลยยังพูดกับ พ. ว่า “ไม่ต้องไปช่วยมัน” จึงเป็นการกระทำความผิดขณะบันดาลโทสะอยู่ จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ นอกจากนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ตายมีส่วนก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้ตายจึงมีส่วนในการกระทำความผิดอยู่ด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ตามประมวลกฎหมายวิพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) นาย ม. โดย นาง ส. ผู้แทนเฉพาะคดี ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหม่ายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม มาตรา 30 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย ม.โดย นาง ส. ผู้แทนเฉพาะคดี เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วย มาตรา 225 #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


ขอมีภริยาน้อย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1437/2565
                                 ในวันเกิดเหตุผู้ตายทะเลาะกับจำเลย โดยผู้ตายขอมีภริยาน้อย พูดจาดูถูกเหยียดหยามบุพการีจำเลย ไล่จำเลยให้ออกจากบ้านและผู้ตายทำร้ายร่างกายจำเลย ซึ่งการที่ผู้ตายด่าว่าจำเลยที่เป็นภริยาในลักษณะดูถูกเหยียดหยามและขอมีภริยาน้อยทั้งด่าไปถึงบุพการีของจำเลยและทำร้ายจำเลยเช่นนั้น ย่อมทำให้จำเลยรู้สึกแค้นเคืองเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย โดยขณะ พ. เข้ามาช่วยผู้ตายจำเลยยังพูดกับ พ. ว่า “ไม่ต้องไปช่วยมัน” จึงเป็นการกระทำความผิดขณะบันดาลโทสะอยู่ จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72 ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ 
                                     นอกจากนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ตายมีส่วนก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้ตายจึงมีส่วนในการกระทำความผิดอยู่ด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ตามประมวลกฎหมายวิพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) นาย ม. โดย นาง ส. ผู้แทนเฉพาะคดี ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหม่ายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม มาตรา 30 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย ม.โดย นาง ส. ผู้แทนเฉพาะคดี เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วย มาตรา 225
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


 

จำเลยอ้างครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาให้โจทก์ชนะ เพราะจำเลยไม่แสดงเจตนาเป็นเจ้าของ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2552 การครอบครองโดยปรปักษ์นั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังจะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ส่วนจะมีเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ซึ่งเป็นเรื่องอยู่ภายในจิตใจ ต้องอาศัยพฤติการณ์ต่างๆ แห่งการยึดถือครอบครองมาประกอบว่าพอจะเป็นการยึดถือครอบครองอย่างเป็นเจ้าของได้หรือไม่ สำหรับการครอบครองที่ดินพิพาทของ ม.ย. และจำเลย ก่อนวันที่ 8 สิงหาคม 2509 ไม่ได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่มีเอกสารสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ กรณีจึงรับฟังได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ ส่วนการครอบครองนับแต่วันที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดินแล้ว ก็ไม่ปรากฏถึงพฤติการณ์แห่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ครอบครองเคยแสดงออก เช่น หวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือดูแลรักษาที่ดินพิพาทไว้เพื่อประโยชน์แห่งตนและปฏิเสธต่อการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของต่อบุคคลอื่นเป็นต้น ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของโจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


จำเลยอ้างครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาให้โจทก์ชนะ เพราะจำเลยไม่แสดงเจตนาเป็นเจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2552
การครอบครองโดยปรปักษ์นั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังจะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ส่วนจะมีเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ซึ่งเป็นเรื่องอยู่ภายในจิตใจ ต้องอาศัยพฤติการณ์ต่างๆ แห่งการยึดถือครอบครองมาประกอบว่าพอจะเป็นการยึดถือครอบครองอย่างเป็นเจ้าของได้หรือไม่ สำหรับการครอบครองที่ดินพิพาทของ ม.ย. และจำเลย ก่อนวันที่ 8 สิงหาคม 2509 ไม่ได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่มีเอกสารสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ กรณีจึงรับฟังได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ ส่วนการครอบครองนับแต่วันที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดินแล้ว ก็ไม่ปรากฏถึงพฤติการณ์แห่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ครอบครองเคยแสดงออก เช่น หวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือดูแลรักษาที่ดินพิพาทไว้เพื่อประโยชน์แห่งตนและปฏิเสธต่อการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของต่อบุคคลอื่นเป็นต้น ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของโจทก์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


 

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

การจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนอื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ จะต้องครอบครองหลังจากที่ดินมีโฉนดแล้ว และต้องครอบครองติดต่อกันด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2549 ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังเป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 121 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่นาย ก. คือ โฉนดเลขที่ 11425 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ถึงวันฟ้อง คือวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


การจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนอื่นโดยการครอบครองปรปักษ์ จะต้องครอบครองหลังจากที่ดินมีโฉนดแล้ว และต้องครอบครองติดต่อกันด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2549
ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังเป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 121 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่นาย ก. คือ โฉนดเลขที่ 11425 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ถึงวันฟ้อง คือวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น 
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


ตำรวจใช้ ไปซื้อยา จึง เป็นแค่เครื่องมือของตำรวจ ไม่มีความผิด ไม่ได้มีเจตนาทำผิดเอง คุณก็อาจจะไม่ต้องรับโทษ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2554

 


ตำรวจใช้  ไปซื้อยา จึง เป็นแค่เครื่องมือของตำรวจ ไม่มีความผิด ไม่ได้มีเจตนาทำผิดเอง คุณก็อาจจะไม่ต้องรับโทษ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2554 การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมไปซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 2 มาให้เจ้าพนักงานตำรวจครั้งนี้ก็เพราะหวังค่าจ้าง ซึ่งไม่ว่าค่าจ้างนั้นจะเป็นกรณีตามที่โจทก์นำสืบว่าค่าจ้าง คือ แบ่งเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวนครึ่งเม็ดหรือไม่มีค่าจ้าง จำเลยที่ 1 คงจะไม่ไปดำเนินการซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 2 มาให้ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 1 ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้ ถือเป็นการอาศัยจำเลยที่ 1 เป็นเครื่องมือ เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นผู้เริ่มมิใช่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มในการไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 ส่วนการที่เจ้าพนักงานตำรวจมอบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อให้จำเลยที่ 1 ก็ดี หรือการที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจก็ดี เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานตำรวจที่เคยให้สายลับไปดำเนินการ ซึ่งโดยปกติเจ้าพนักงานตำรวจก็มักจะให้ค่าตอบแทนแก่สายลับ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 1 จึงอยู่ในสถานะเดียวกับสายลับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิด #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์



วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

หากคุณต้องการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คุณต้องหาสิ่งที่คุณรักให้เจอ แล้วจงตั้งเป้าหมาย พร้อมทั้งเริ่มลงมือทำ ในสิ่งที่คุณรักในทุกวัน ทีละเล็ก ทีละน้อย จนกระทั่งถึงเป้าหมายที่คุณต้องการ #อาจารย์โทนี่ #สุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


หากคุณต้องการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คุณต้องหาสิ่งที่คุณรักให้เจอ แล้วจงตั้งเป้าหมาย พร้อมทั้งเริ่มลงมือทำ ในสิ่งที่คุณรักในทุกวัน ทีละเล็ก ทีละน้อย จนกระทั่งถึงเป้าหมายที่คุณต้องการ #อาจารย์โทนี่ #สุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558 แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตามมาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่ คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาท #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2558 แม้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 และมาตรา 214 แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายกฎหมายคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ตามมาตรา 1734 และมาตรา 1738 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะไปบังคับเอาจากทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ทายาทของลูกหนี้จะต้องรับผิดทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกก็เพื่อให้เจ้าหนี้มีทางได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น ไม่ทำให้ทายาทนั้นต้องรับผิดชดใช้จากทรัพย์สินส่วนตัวด้วย หากทายาทรับทรัพย์สินจากกองมรดกของผู้ตายไปแล้วก็เพียงให้รับผิดไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับไปตามมาตรา 1601 และมาตรา 1738 วรรคสอง โดยยังถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับไปนั้นเป็นกองมรดกอยู่ คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทรับผิดในค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ตายเจ้ามรดกกระทำละเมิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาท #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

ที่ดินสินสมรสโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จะเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2537

 


ที่ดินสินสมรสโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จะเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2537 เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงอ้างสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยที่ 3 ผู้รับโอนคนใหม่ไม่ได้ ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของโจทก์ได้ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ครั้งจำเลยที่ 2 รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินสมรสที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือให้ความยินยอมนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 รู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต นิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นโมฆะ ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปจัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ถ้าไม่สามารถโอนได้ ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้ราคา    จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา     จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตในราคา 250,000 บาทต่อมาจำเลยที่ 2 ได้โอนขายให้จำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นเดียวกันจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง       จำเลยที่ 3 ให้การว่า การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำโดยสุจริตจำเลยที่ 3 ได้จดทะเบียนซื้อขายจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริต ขอให้ยกฟ้อง    ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์  โจทก์อุทธรณ์     ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน  โจทก์ฎีกา ศาลฏีกาพิพากษายืน #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ตัวการร่วมกันลักทรัพย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2567 แม้จะไม่มีพยานเห็นขณะจำเลยร่วมกับ บ. ยกถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมขึ้นรถกระบะ แต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยและ บ. ร่วมนั่งมาในรถกระบะคันเดียวกันโดยขาออกจากไร่มีถังดังกล่าวบรรทุกอยู่ที่กระบะท้าย ครั้นเมื่อกลับเข้ามาในไร่พร้อมกันกลับไม่มีถังดังกล่าวบรรทุกกลับมาด้วย บ่งชี้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ บ. เป็นคนร้ายลักเอาถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมไป #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


ตัวการร่วมกันลักทรัพย์ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  428/2567
แม้จะไม่มีพยานเห็นขณะจำเลยร่วมกับ บ. ยกถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมขึ้นรถกระบะ แต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยและ บ. ร่วมนั่งมาในรถกระบะคันเดียวกันโดยขาออกจากไร่มีถังดังกล่าวบรรทุกอยู่ที่กระบะท้าย ครั้นเมื่อกลับเข้ามาในไร่พร้อมกันกลับไม่มีถังดังกล่าวบรรทุกกลับมาด้วย บ่งชี้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ บ. เป็นคนร้ายลักเอาถังสแตนเลสของโจทก์ร่วมไป
#ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์


 

เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2547 บทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 84 หมายความว่า ผู้ใช้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยผู้ถูกใช้รู้ว่าการกระทำตามที่ถูกใช้เป็นความผิด หากผู้ถูกใช้กระทำความผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ หากผู้ถูกใช้ไม่กระทำผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษหนึ่งในสามของโทษที่กำหนด คดีนี้ บ. เป็นนักการภารโรงไม่มีส่วนได้เสียในบัญชีเงินกู้และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างหรือให้ประโยชน์แก่ บ. ในการเผาทำลายบัญชีเงินกู้ จึงไม่มีเหตุที่ บ. ต้องเผาบัญชีเงินกู้ หาก บ. ทราบว่าการเผาทำลายบัญชีเงินกู้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย บ. ก็คงไม่กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เนื่องจาก บ. อาจต้องรับโทษโดยที่ตนเองไม่ได้ประโยชน์ แต่ บ. ยอมเผาบัญชีเงินกู้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาคงเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. เผาบัญชีเงินกู้นั้น จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะ บ. ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการที่จำเลยที่ 1 ใช้ บ. เป็นเครื่องมือของจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3336/2547 บทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 84 หมายความว่า ผู้ใช้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยผู้ถูกใช้รู้ว่าการกระทำตามที่ถูกใช้เป็นความผิด หากผู้ถูกใช้กระทำความผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ หากผู้ถูกใช้ไม่กระทำผิดตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษหนึ่งในสามของโทษที่กำหนด คดีนี้ บ. เป็นนักการภารโรงไม่มีส่วนได้เสียในบัญชีเงินกู้และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างหรือให้ประโยชน์แก่ บ. ในการเผาทำลายบัญชีเงินกู้ จึงไม่มีเหตุที่ บ. ต้องเผาบัญชีเงินกู้ หาก บ. ทราบว่าการเผาทำลายบัญชีเงินกู้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย บ. ก็คงไม่กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เนื่องจาก บ. อาจต้องรับโทษโดยที่ตนเองไม่ได้ประโยชน์ แต่ บ. ยอมเผาบัญชีเงินกู้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาคงเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. เผาบัญชีเงินกู้นั้น จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะ บ. ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการที่จำเลยที่ 1 ใช้ บ. เป็นเครื่องมือของจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

จำเลยเป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2537

 


จำเลยเป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2537 จำเลยใช้ให้เด็กหญิงป.ไปรับยาเสพติดให้โทษเฮโรอีน โดยเด็กหญิงป.ไม่ทราบข้อเท็จจริง การที่เด็กหญิงป. ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเอง #ทนายโทนี่  #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

การถูกหลอกให้กระทำความผิด (Innocent Agent ตัวแทนโดยบริสุทธิ์) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14213/2557

 


การถูกหลอกให้กระทำความผิด (Innocent Agent ตัวแทนโดยบริสุทธิ์) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14213/2557 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายเบิกถอนเงินของผู้เสียหายจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารโดยสำคัญผิดว่าจำเลยที่ 3 ผู้มอบบัตรเอทีเอ็มและใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปเบิกถอนเงินมีสิทธิที่จะใช้บัตรเอทีเอ็มนั้นได้ แม้ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 มีสิทธิใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายไปเบิกถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารจะไม่มีอยู่จริง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สำคัญผิดว่ามีอยู่จริง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดของจำเลยที่ 3 เอง และแม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิด แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะกระทำผิดด้วยตัวเอง หรือเป็นการกระทำผิดโดยอ้อม จำเลยที่ 3 ก็มีสถานะเป็นผู้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเหมือนกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

วันตรวจพยานหลักฐาน ในคดีอาญา ( ปวิอ.ม.173/1)

 



วันตรวจพยานหลักฐาน ในคดีอาญา ( ปวิอ.ม.173/1) วันตรวจพยานหลักฐานก่อนการสืบพยานนั้น เป็นกระบวนพิจารณาในคดีอาญาอย่างหนึ่ง ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสเห็นพยานวัตถุหรือพยานเอกสารของฝ่ายตรงข้ามก่อนวันนัดสืบพยาน อีกทั้งยังทำให้ทราบแนวทางการนำสืบของอีกฝ่าย ว่าจะสืบพยานบุคคลกี่ปาก ยื่นบัญชีระบุพยาน 1.ยื่นครั้งแรก : คู่ความต้องยื่นก่อนวันตรวจพยานหลักฐานไม่น้อยกว่า 7 วัน 2. ยื่นเพิ่มเติม :คู่ความต้องยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาล ก่อนการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้น โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาล 3. ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม  : หลังจากมีการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว  คู่ความต้องขออนุญาตจากศาล โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลโดยแสดงเหตุผลอันสมควร #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ของผู้อื่น, ขาดเจตนา คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4423/2564 การกระทำอันจะถือเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 83 ได้นั้น บุคคลผู้ร่วมกระทำความผิดจะต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และมีการกระทำโดยเจตนาที่จะร่วมกันกระทำความผิดนั้น จึงจะเป็นตัวการตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้ ตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสาม เมื่อพวกของจำเลยที่ขับรถแบ็กโฮเข้าขุดดินในที่ดินของผู้เสียหาย มิได้รู้เท็จจริงว่าดินที่ขุดออกไปเป็นของผู้เสียหายโดยเข้าใจว่าเป็นการขุดดินของจำเลย ก็ย่อมจะถือไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง แต่ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความเองโดยอ้อมโดยใช้พวกของจำเลยเป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดของจำเลยเอง เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่ได้ความกระจ่างชัดว่าพวกของจำเลยรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดและมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยอันจะถือเป็นการลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นคุณแก่จำเลยว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปโดยใช้ยานพาหนะ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

ไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ของผู้อื่น, ขาดเจตนา คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4423/2564 การกระทำอันจะถือเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 83 ได้นั้น บุคคลผู้ร่วมกระทำความผิดจะต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และมีการกระทำโดยเจตนาที่จะร่วมกันกระทำความผิดนั้น จึงจะเป็นตัวการตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้ ตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสาม เมื่อพวกของจำเลยที่ขับรถแบ็กโฮเข้าขุดดินในที่ดินของผู้เสียหาย มิได้รู้เท็จจริงว่าดินที่ขุดออกไปเป็นของผู้เสียหายโดยเข้าใจว่าเป็นการขุดดินของจำเลย ก็ย่อมจะถือไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง แต่ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความเองโดยอ้อมโดยใช้พวกของจำเลยเป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดของจำเลยเอง เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่ได้ความกระจ่างชัดว่าพวกของจำเลยรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดและมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยอันจะถือเป็นการลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นคุณแก่จำเลยว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปโดยใช้ยานพาหนะ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์




 

ไม่มีเจตนาทุจริตลักทรัพย์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2500 คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ยกฟ้องโจทก์ โดยฟังว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตลักทรัพย์จึงเป็นคดีที่ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ดังนั้น โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตลักทรัพย์ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


ไม่มีเจตนาทุจริตลักทรัพย์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2500 คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ยกฟ้องโจทก์ โดยฟังว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตลักทรัพย์จึงเป็นคดีที่ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ดังนั้น โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตลักทรัพย์ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ผู้ฝากเงินไม่ใช่เป็นผู้เสียหายโดยตรง แต่ธนาคาร ผู้รับฝากเป็นผู้เสียหายโดยตรง ฎีกาที่ 4770/2567 เงินที่โจทก์นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ท. อยู่ในความครอบครองของธนาคาร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ท. ซึ่งธนาคารผู้รับฝากย่อมมีสิทธิในการบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าว ธนาคารผู้รับฝากคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินตามจำนวนที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้นธนาคารผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องคืนเงินเป็นจำนวนอันเดียวกับที่โจทก์ฝากไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 เงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยรับไปจึงเป็นเงินของธนาคาร ท. ผู้รับฝาก มิใช่เงินของโจทก์ การที่จำเลยทำใบถอนเงินที่ปลอมขึ้นมาเบิกถอนจากบัญชีเงินฝากของโจทก์แล้วเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปเข้าบัญชีธนาคารของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


ผู้ฝากเงินไม่ใช่เป็นผู้เสียหายโดยตรง แต่ธนาคาร ผู้รับฝากเป็นผู้เสียหายโดยตรง ฎีกาที่ 4770/2567 เงินที่โจทก์นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ท. อยู่ในความครอบครองของธนาคาร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ท. ซึ่งธนาคารผู้รับฝากย่อมมีสิทธิในการบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าว ธนาคารผู้รับฝากคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินตามจำนวนที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้นธนาคารผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องคืนเงินเป็นจำนวนอันเดียวกับที่โจทก์ฝากไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 เงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยรับไปจึงเป็นเงินของธนาคาร ท. ผู้รับฝาก มิใช่เงินของโจทก์ การที่จำเลยทำใบถอนเงินที่ปลอมขึ้นมาเบิกถอนจากบัญชีเงินฝากของโจทก์แล้วเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปเข้าบัญชีธนาคารของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยพิษณุโลก ได้แก่ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ในโอกาสที่ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม TCI Tier 1 (วารสารวิชาการคุณภาพระดับประเทศ) มหาวิทยาลัยพิษณุโลกรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จ และขอเป็นกำลังใจให้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าทางวิชาการและสังคมอย่างต่อเนื่อง

 



 ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
ได้แก่
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ในโอกาสที่ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ใน
วารสารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม TCI Tier 1 (วารสารวิชาการคุณภาพระดับประเทศ)
 มหาวิทยาลัยพิษณุโลกรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จ และขอเป็นกำลังใจให้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าทางวิชาการและสังคมอย่างต่อเนื่อง
 


วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ถูกทำร้ายร่างกายแค่ไหนเรียกว่า “สาหัส” (ความผิดต่อร่างกาย)


ถูกทำร้ายร่างกายแค่ไหนเรียกว่า “สาหัส” (ความผิดต่อร่างกาย) ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 295 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท                อันตรายสาหัสนั้น คือ                (๑) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท                (๒) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์                (๓) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด                (๔) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว                (๕) แท้งลูก                (๖) จิตพิการอย่างติดตัว                (๗) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต                (๘) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-200,000 บาท (มาตรา 297 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 

ที่ดินตาบอดขอเปิดทางจำเป็นได้ หากคุณมีที่ดินตาบอด ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินของผู้อื่น ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ คุณมีสิทธิขอเปิด "ทางจำเป็น" กับเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ได้ มาตรา 1349 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ว่า วรรคหนึ่ง ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ วรรคสอง ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ วรรคสาม ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ วรรคสี่ ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


ที่ดินตาบอดขอเปิดทางจำเป็นได้ หากคุณมีที่ดินตาบอด ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินของผู้อื่น ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ คุณมีสิทธิขอเปิด "ทางจำเป็น" กับเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ได้ มาตรา 1349 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ว่า วรรคหนึ่ง ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ วรรคสอง ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ วรรคสาม ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ วรรคสี่ ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้ #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

การรักษาพยาบาลกับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์ หากมีค่าใช้จ่ายจำเลยก็ต้องจ่าย แม้เป็นเรื่องความเชื่อของผู้เสียหาย ก็สามารถเรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2530 จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาททับขาโจทก์ที่ 3 แพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าตรวจแล้วมีความเห็นว่าต้องตัดขาทั้งสองข้างโจทก์ที่ 3 ไม่ยอมให้ตัด ได้ออกจากโรงพยาบาลไปรักษาหมอกระดูกทางไสยศาสตร์อยู่ประมาณ 1 เดือนไม่หาย จึงไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลยาสูบแพทย์ได้ตัดขาโจทก์ที่ 3 ทั้งสองข้างการที่โจทก์ที่ 3 ไม่ยอมตัดขาทั้งสองข้างแล้วไปรักษากับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์นั้น เป็นเรื่องความเชื่อของโจทก์ที่ 3 ที่จะเลือกรักษาเช่นนั้นได้เมื่อรักษากับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์ไม่หายจึงไปรักษาที่โรงพยาบาลยาสูบโดยแพทย์ตัดขาทั้งสองข้าง ย่อมเป็นผลจากการทำละเมิดโดยตรงของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุแทรกซ้อนจำเลยต้องชดใช้ค่ารักษาที่โจทก์ที่ 3 ใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลทั้งสอง และค่าใช้จ่ายที่มารดาโจทก์ที่ 3 ไปดูแลโจทก์ที่ 3ขณะรักษาตัวอยู่ในที่ต่างๆและพาโจทก์ที่ 3 ไปยังสถานพยาบาลต่างๆและพากลับบ้านด้วย #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

การรักษาพยาบาลกับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์ หากมีค่าใช้จ่ายจำเลยก็ต้องจ่าย แม้เป็นเรื่องความเชื่อของผู้เสียหาย ก็สามารถเรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2530 จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาททับขาโจทก์ที่ 3 แพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าตรวจแล้วมีความเห็นว่าต้องตัดขาทั้งสองข้างโจทก์ที่ 3 ไม่ยอมให้ตัด ได้ออกจากโรงพยาบาลไปรักษาหมอกระดูกทางไสยศาสตร์อยู่ประมาณ 1 เดือนไม่หาย จึงไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลยาสูบแพทย์ได้ตัดขาโจทก์ที่ 3 ทั้งสองข้างการที่โจทก์ที่ 3 ไม่ยอมตัดขาทั้งสองข้างแล้วไปรักษากับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์นั้น เป็นเรื่องความเชื่อของโจทก์ที่ 3 ที่จะเลือกรักษาเช่นนั้นได้เมื่อรักษากับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์ไม่หายจึงไปรักษาที่โรงพยาบาลยาสูบโดยแพทย์ตัดขาทั้งสองข้าง ย่อมเป็นผลจากการทำละเมิดโดยตรงของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุแทรกซ้อนจำเลยต้องชดใช้ค่ารักษาที่โจทก์ที่ 3 ใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกับหมอกระดูกทางไสยศาสตร์รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลทั้งสอง และค่าใช้จ่ายที่มารดาโจทก์ที่ 3 ไปดูแลโจทก์ที่ 3ขณะรักษาตัวอยู่ในที่ต่างๆและพาโจทก์ที่ 3 ไปยังสถานพยาบาลต่างๆและพากลับบ้านด้วย #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 

การบรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องระบุชัดเจนถึงข้อความเท็จนั้นว่ามีข้อความเป็นอย่างไร และความจริงเป็นอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2566 โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่เพียงว่าจำเลยไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดข้อความอันเป็นเท็จใดลงในเอกสารราชการใด ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานอย่างไร ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


การบรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องระบุชัดเจนถึงข้อความเท็จนั้นว่ามีข้อความเป็นอย่างไร และความจริงเป็นอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2566 โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่เพียงว่าจำเลยไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดข้อความอันเป็นเท็จใดลงในเอกสารราชการใด ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานอย่างไร ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

เมื่อท่านถูกฟ้องเป็นจำเลย หรือ ท่านตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ท่านอย่าได้คิดว่า “ หากเราไม่ผิด ใครก็ทำอะไรเราไม่ได้ ” ไม่จริงครับ ผมเคยเห็นคนที่คิดอย่างนี้ ติดคุกมาตั้งเยอะแล้ว สิ่งที่ท่านควรทำคือ “ ท่านต้องหาพยานหลักฐานทั้งหมด ” แล้วไปปรึกษาทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมาย บางกรณีก็ต้องนำหลักฐานพยานไปแสดงต่อพนักงานสอบสวน เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


เมื่อท่านถูกฟ้องเป็นจำเลย หรือ ท่านตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ท่านอย่าได้คิดว่า “ หากเราไม่ผิด ใครก็ทำอะไรเราไม่ได้ ” ไม่จริงครับ ผมเคยเห็นคนที่คิดอย่างนี้ ติดคุกมาตั้งเยอะแล้ว สิ่งที่ท่านควรทำคือ “ ท่านต้องหาพยานหลักฐานทั้งหมด ” แล้วไปปรึกษาทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมาย บางกรณีก็ต้องนำหลักฐานพยานไปแสดงต่อพนักงานสอบสวน เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง #ทนายโทนี่ #ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ 

การปลอมลายมือ ลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อื่น โดยไม่มีการเติมหรือตัดทอนข้อความหรือเเก้ไขสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้เเตกต่างไปจากสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนี้เเต่อย่างใด เป็นเพียงการปลอมเอกสาร ไม่ใช่เป็นการปลอมเอกสารราชการ

 

การปลอมลายมือ ลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อื่น โดยไม่มีการเติมหรือตัดทอนข้อความหรือเเก้ไขสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้เเตกต่างไปจากสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนี้เเต่อย่างใด เป็นเพียงการปลอมเอกสาร ไม่ใช่เป็นการปลอมเอกสารราชการ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12137/2558 ความผิดฐานปลอมเอกสารต้องเป็นการกระทำต่อเอกสารอันเป็นผลให้เอกสารนั้นผิดแผกแตกต่างไป ด้วยเจตนาให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง แม้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นเอกสารราชการ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่ามีเพียงการปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการเติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้แตกต่างไปจากสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนี้แต่อย่างใด สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวยังคงเป็นเอกสารที่แท้จริง การปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นเพียงการปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น เมื่อจำเลยใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ร่วมดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ผิดสัญญาเช่าและเป็นการกระทำผิดฐานละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2549 สัญญาเช่าอาคารทั้งสองฉบับครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับลง โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนอาคารที่เช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนอาคารที่เช่า เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองอาคารที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานละเมิด เพียงแต่เมื่อใช้สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาแล้วโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดได้ เพราะเป็นค่าเสียหายมูลกรณีเดียวกัน สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 ข้อ 1 วรรคสองระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม "ผู้เช่า" ต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" ทันที ในกรณีที่ "ผู้เช่า" ไม่สามารถส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" "ผู้เช่า" ยินยอมชำระค่าปรับให้แก่ "ผู้ให้เช่า" วันละ 2,000 บาท นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่ได้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบอาคารที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในทันที โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าข้อ 1 วรรคสอง ได้ แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 11 ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม "ผู้เช่า" จะต้องย้ายออกไปจากที่เช่าทันที ถ้าไม่ขนย้ายออกไปยอมให้ค่าเสียหายค่าปรับเป็นเงินวันละ 2,000 บาท แก่ "ผู้ให้เช่า" ทุกวันจนกว่าจะขนย้ายออกไป ซึ่งระบุเงื่อนไขในการยอมให้ค่าเสียหายเฉพาะกรณีมีการบอกเลิกสัญญาเช่าเท่านั้น แตกต่างจากสัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 แต่แม้จะเป็นกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่าไม่เข้าเงื่อนไขที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดได้ซึ่งโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องและนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


ผิดสัญญาเช่าและเป็นการกระทำผิดฐานละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2549 สัญญาเช่าอาคารทั้งสองฉบับครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับลง โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนอาคารที่เช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนอาคารที่เช่า เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองอาคารที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานละเมิด เพียงแต่เมื่อใช้สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาแล้วโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดได้ เพราะเป็นค่าเสียหายมูลกรณีเดียวกัน สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 ข้อ 1 วรรคสองระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม "ผู้เช่า" ต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" ทันที ในกรณีที่ "ผู้เช่า" ไม่สามารถส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" "ผู้เช่า" ยินยอมชำระค่าปรับให้แก่ "ผู้ให้เช่า" วันละ 2,000 บาท นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่ได้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบอาคารที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในทันที โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าข้อ 1 วรรคสอง ได้ แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 11 ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม "ผู้เช่า" จะต้องย้ายออกไปจากที่เช่าทันที ถ้าไม่ขนย้ายออกไปยอมให้ค่าเสียหายค่าปรับเป็นเงินวันละ 2,000 บาท แก่ "ผู้ให้เช่า" ทุกวันจนกว่าจะขนย้ายออกไป ซึ่งระบุเงื่อนไขในการยอมให้ค่าเสียหายเฉพาะกรณีมีการบอกเลิกสัญญาเช่าเท่านั้น แตกต่างจากสัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 แต่แม้จะเป็นกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่าไม่เข้าเงื่อนไขที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดได้ซึ่งโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องและนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2568

บอกเลิกสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538 โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือแม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและ ขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือ ของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลย โอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรก ที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรับวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 เวลา 10 นาฬิกานั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถ รับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเองดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ 480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์

 

บอกเลิกสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538 โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือแม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและ ขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือ ของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลย โอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรก ที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรับวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 เวลา 10 นาฬิกานั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถ รับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเองดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ 480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ ทนายโทนี่ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์