วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2567

สู้คดีด้วยอายุความ อายุความฟ้องคดีกู้ยืมเงิน โดย...ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่) 5 ปี บัตรสินเชื่อหรือสัญญาเงินกู้ ที่ มีกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ(ผ่อนเป็นงวดๆ) มีอายุความ 5 ปี 10 ปีการฟ้องร้องเรียกเงินคืน ตามสัญญากู้ยืมเงินหรือสินเชื่อเงินกู้ ต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน

 


สู้คดีด้วยอายุความ  อายุความฟ้องคดีกู้ยืมเงิน โดย...ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่) 5  ปี     บัตรสินเชื่อหรือสัญญาเงินกู้ ที่ มีกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ(ผ่อนเป็นงวดๆ) มีอายุความ 5 ปี 10 ปีการฟ้องร้องเรียกเงินคืน ตามสัญญากู้ยืมเงินหรือสินเชื่อเงินกู้ ต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2567

สัญญากู้ยืมเงิน ที่มีหลักฐานใน facebook หรือ line หรือ สื่อออนไลน์

 


สัญญากู้ยืมเงิน ที่มีหลักฐานใน facebook หรือ line หรือ สื่อออนไลน์
โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2560
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 595,500 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน จำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมครบถ้วนแล้ว หลังจากทำสัญญาจำเลยไม่ชำระต้นเงิน คงชำระดอกเบี้ย 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 6,550 บาท การที่โจทก์ส่งข้อความทางเฟสบุ๊คถึงจำเลยมีใจความว่า เงินทั้งหมด 670,000 บาท ไม่ต้องส่งคืน ยกให้หมด ไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7 ถึง มาตรา 9 มาใช้บังคับด้วย แม้ข้อความนี้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วยและโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความถึงจำเลยจริง ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่า เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง


วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ทำไมไม่กำหนดเป้าหมายในชีวิต โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์

 


     ทำไมไม่กำหนดเป้าหมายในชีวิต
โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com

  หลายๆคน ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับความสำเร็จหรือได้ยินได้ฟังจากบรรดาผู้ประสบความ สำเร็จว่า การสร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ คนที่ประสบความสำเร็จทุกๆคนล้วนแล้วแต่เป็นคนที่มีเป้าหมายในชีวิต ถามว่าเมื่อรู้แล้วว่าการกำหนดเป้าหมายในชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญแต่ทำไมคน ส่วนใหญ่ถึงไม่ยอมที่จะกำหนดเป้าหมายในชีวิต อาจเป็นเพราะเหตุผลดังนี้

  1.ไม่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการกำหนดเป้าหมายอย่างแท้จริง หลายๆคนคงได้เคยเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของการวางเป้าหมายจากการอบรม การสัมมนา การอ่านหนังสือต่างๆ ฯลฯ แต่เมื่อเรียนรู้แล้วไม่ยอมลงมือทำ นี่คือจุดอ่อนของคนส่วนใหญ่ กล่าวคือเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ แต่ไม่ยอมนำเอาความรู้ที่ได้รับการอบรมไปใช้ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง การเรียนรู้เรื่องการวางเป้าหมายก็เช่นกัน 

  2.มีความกลัวว่าเมื่อวางเป้าหมายไปแล้วจะทำไม่ได้ ความกลัวมักจะทำให้คนๆนั้นไม่กล้า เช่น กลัวจีบสาวไม่ติดก็ไม่กล้าที่จะไปจีบสาว , กลัวการพูดต่อหน้าที่ชุมชนเลยไม่กล้าที่จะพูดต่อหน้าที่ชุมชน , กลัวตกม้าเลยไม่กล้าขึ้นไปขี่ม้า ฯลฯ ฉะนั้น หลักในการวางเป้าหมายที่ดี เราไม่ควรวางเป้าหมายให้สูงเกินความเป็นจริงหรือเกินความสามารถของตนเอง และการวางเป้าหมายที่ดี ไม่ควรวางเป้าหมายให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ควรวางเป้าหมายสูงกว่าความเป็นจริงสักเล็กน้อย

  3.ไม่อยากเสียเวลาและเสียแรงในการวางเป้าหมาย หลายๆคนเมื่อวางเป้าหมายไปแล้วทำครึ่งๆกลางๆ ไม่มีความต่อเนื่อง จึงทำให้มีความรู้สึกว่าไม่อยากเสียเวลาและเสียแรงในการวางเป้าหมาย เช่น บางคนมีเป้าหมายว่าจะลุกขึ้นอ่านหนังสือทุกๆวัน ตั้งแต่เวลาตี 5 แต่พอทำไปได้ 3 วัน ก็เลิกทำ หรือ บางคนมีเป้าหมายว่าจะออกกำลังกายทุกๆตอนเย็นแต่ทำได้เพียงแค่ 7 วัน ก็เลิก สุดท้ายก็ไม่อยากกำหนดเป้าหมายในชีวิต
นี่คือสาเหตุบางประการที่ทำให้คนเราไม่ยอมที่จะกำหนดเป้าหมายในชีวิต ถามว่าทำไมจึงต้องกำหนดเป้าหมาย การกำหนดเป้าหมายมีประโยชน์หลายประการ เช่น

  1.การมีเป้าหมายช่วยให้เรารู้ทิศทางในการก้าวไปข้างหน้า ทำให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ไม่ทำให้เราเกิดความสับสนในชีวิตจนไม่รู้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหนดี การรู้ทิศทางเดินของตนเองทำให้เราเกิดความตั้งใจ เกิดความมุ่งมั่น เกิดการพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่เป้าหมาย
  2.การกำหนดเป้าหมายจะทำให้เราพบวิธีการในการไปสู่เป้าหมาย ตัวอย่าง หากเราอยู่ต่างจังหวัด เรามีเป้าหมายว่าต้องการเดินทางไปกรุงเทพฯ เราสามารถมีวิธีการในการไปสู่เป้าหมายหลายวิธี เช่น นั่งรถโดยสารประจำทาง นั่งรถยนต์ส่วนตัว นั่งเครื่องบิน ปั่นจักรยาน ฯลฯ ทั้งนี้ เราสามารถรู้วิธีการในการไปสู่เป้าหมายว่ามีวิธีการใดที่มีความเหมาะสมกับ เรามากที่สุด
  3.การกำหนดเป้าหมายจะทำให้มีความขยัน อดทนและความเพียรพยายาม คนที่มีเป้าหมายจะมีความขยัน อดทนและเพียรพยายามเพื่อนำพาตัวเองไปสู่จุดหมายปลายทาง แต่คนไม่มีเป้าหมาย ถึงแม้จะมีขยัน มีอดทนและมีเพียรพยายามอย่างไรก็ตามสุดท้ายก็ไปไม่ถึงไหน เพราะเนื่องจากไม่รู้ว่าจุดหมายปลายทางอยู่ตรงไหน เหมือนขยันพายเรือกลางทะเล ไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน

  จากข้อความข้างต้นจะทำให้เราทราบว่า ทำไมคนเราถึงไม่ยอมกำหนดเป้าหมายและทำให้ทราบเรื่องประโยชน์ของการกำหนดเป้า หมาย ดังนั้นหากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ขอให้ท่านได้กำหนดเป้าหมายในชีวิตตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป แล้วเริ่มเดินทางไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ท่านก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างแน่นอน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2538 แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอน จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่ 1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี 2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี 2528 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี 2535 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่ https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2538 แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอน จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่ 1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี 2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี 2528 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี 2535 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่ https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2523 ผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือสมยอมกันดังนี้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่ https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2523 ผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือสมยอมกันดังนี้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่ https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567

คำพิพากษาฎีกาที่ 3996 / 2540 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมขอให้บังคับคดีเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของจำเลยได้ โดยไม่ต้องรอให้มีผู้จัดการมรดก หรือแบ่งมรดกระหว่างทายาทของจำเลยก่อน ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่ https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

 


 คำพิพากษาฎีกาที่ 3996 / 2540 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมขอให้บังคับคดีเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของจำเลยได้ โดยไม่ต้องรอให้มีผู้จัดการมรดก หรือแบ่งมรดกระหว่างทายาทของจำเลยก่อน ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่ https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567

คำพิพากษาฎีกา 700 / 2517 จำเลยเป็นภรรยาของผู้ตาย โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อันจะถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737 ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่ https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740


คำพิพากษาฎีกา 700 / 2517 จำเลยเป็นภรรยาของผู้ตาย โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อันจะถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737 ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่ https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

 

คำพิพากษาฎีกา มรดก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2526 จำเลยเป็นแต่เพียงทายาทโดยธรรมแต่ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังนั้นแม้จำเลยจะทำหนังสือยอมรับชำระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้ตายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่ https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

 


คำพิพากษาฎีกา มรดก 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2526
จำเลยเป็นแต่เพียงทายาทโดยธรรมแต่ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังนั้นแม้จำเลยจะทำหนังสือยอมรับชำระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้ตายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์ ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740


วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567

เสริมพลังทีมสร้างพลังกลุ่ม

 


                                        เสริมพลังทีมสร้างพลังกลุ่ม
โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com

  ทีม มีความสำคัญมากต่อการทำงานภายในหน่วยงาน ภายในองค์กร การทำงานเป็นทีมบางครั้งก็เกิดปัญหา บางครั้งก็เกิดความอ่อนล้า บางครั้งก็เกิดการแตกแยก การทำงานเป็นทีมที่ดีจึงต้องมีการเสริมแรงซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทีมงานเกิดขวัญ กำลังใจ ในการทำงาน ซึ่งเราสามารถเสริมพลังทีมสร้างพลังกลุ่มได้ดังนี้
  1.สรรหาผู้ร่วมทีมงาน ที่มีความหลากหลาย ทีมที่ดีมักจะต้องมีคนที่มีความสามารถที่แตกต่างกันมาอยู่รวมกันเพื่อสร้าง สรรค์ผลงานใหม่ๆ ผู้ร่วมทีมงานอาจมาจากต่างฝ่าย ต่างแผนก ต่างสายงาน แต่มาร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดทีมที่มีประสิทธิภาพ
  2.สรรหาผู้ร่วมงานมา เติมเต็ม ในส่วนที่ทีมงานขาด เช่น หากทีมงานที่มีอยู่ไม่มีผู้ใดทำงานเกี่ยวกับด้านบัญชี เราควรสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางด้านบัญชีเข้ามาร่วมงาน เพื่อที่จะช่วยเสริมในส่วนที่ขาดหรือมีปัญหาของทีม
  3.ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในทีมงาน การทำงานโดยยึดความเป็นหนึ่งของทีมโดยมีการกำหนดเป้าหมายของทีมไว้ เพื่อให้ทุกคนในทีมได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  4.การสร้างบรรยากาศที่ดีใน การทำงาน มีบรรยากาศที่มีความจูงใจในการทำงาน เช่น มีการชมเชย การมอบของรางวัล การแข่งขัน ฯลฯ รวมไปถึงการสร้างกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการร่วมกัน อย่างการดูกีฬา การกินข้าวมื้อเที่ยงและมื้อเย็นร่วมกัน
  5.สร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วม กันภายในทีม เช่น วัฒนธรรมแห่งการยิ้ม วัฒนธรรมแห่งการพูดคำว่า “สวัสดี” , “ขอบคุณ” , “ขอบใจ” , “คุณทำได้” ฯลฯ 
  6.จัดอบรม จัดสัมมนา เพื่อสร้างทีมงาน การอบรม การสัมมนา อาจจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก แต่หากต้องการให้ทีมงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและสามารถทำงานร่วมกันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดอบรม การจัดสัมมนา จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น อาจจะมีการจัดในรูปแบบต่างๆเช่น กิจกรรม Walk Rally , การอบรมทางด้านวิชาการ , สัมมนาเพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงานร่วมกัน ฯลฯ
  7.การให้รางวัลแห่งความสำเร็จของทีมงาน เมื่อทีมสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เราควรจัดเฉลิมฉลองความสำเร็จ อาจจะต้องลงทุนจัดงานเลี้ยงเพื่อเสริมแรงหรือกระตุ้นให้ทีมงานเกิดความ ภาคภูมิใจในความสำเร็จร่วมกันของเป้าหมายที่ทำ
  กิจกรรมข้างต้นดังกล่าวจึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ทีมงานทำงานร่วมกันได้อย่าง มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีแรงกระตุ้นให้คนทำงานในทีมอยากที่จะทำงานร่วมกัน เมื่อทีมมีประสิทธิภาพในการทำงาน คนในทีมทำงานด้วยความกระตือรือร้นจะทำให้เกิดผลงานขึ้นอย่างมากมายมหาศาล
  ดังนั้น การสรรหาผู้ร่วมทีมงานที่มีความหลากหลาย , การสรรหาผู้ร่วมงานมาเติมเต็ม , การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทีมงาน , การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน , การสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันภายในทีม , การจัดอบรม จัดสัมมนา เพื่อสร้างทีมงาน และการให้รางวัลแห่งความสำเร็จของทีมงาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมพลังทีมสร้างพลังกลุ่ม


วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567

การพัฒนาตนเองสู่การเป็นทนายความที่เก่ง โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่) https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

 

การพัฒนาตนเองสู่การเป็นทนายความที่เก่ง

โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)

https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740


การตั้งเป้าหมายทำให้เรามีทิศทาง ความสำเร็จ ไม่ใช่เรื่องของ โชค แต่ เป็น การที่เราได้ตัดสินใจเลือกเดินทางตามทิศทางหรือเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ จงเดินไปอย่างช้าๆ ในทุกๆวัน วันละเล็ก วันละน้อย อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และเดินอย่างไม่หยุดยั้ง แล้วสักวันหนึ่งเราก็จะถึงเป้าหมายได้ในที่สุด โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์ (อาจารย์โทนี่) www.drsuthichai.com

 


การตั้งเป้าหมายทำให้เรามีทิศทาง ความสำเร็จ ไม่ใช่เรื่องของ โชค แต่ เป็น การที่เราได้ตัดสินใจเลือกเดินทางตามทิศทางหรือเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ จงเดินไปอย่างช้าๆ ในทุกๆวัน วันละเล็ก วันละน้อย อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และเดินอย่างไม่หยุดยั้ง แล้วสักวันหนึ่งเราก็จะถึงเป้าหมายได้ในที่สุด โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์ (อาจารย์โทนี่) www.drsuthichai.com

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ

 

โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740


วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567

คำคม ความสำเร็จไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

ความสำเร็จไม่ใช่เรื่องของโชคหรือสิ่งที่ได้มาโดยความบังเอิญ  แต่เกิดจากการตั้งเป้าหมาย แล้วเดินทางไปสู่เป้าหมาย ซึ่งคุณจำเป็นจากต้องทำงานอย่างฉลาด มีความเชื่อมั่นในตนเอง “ว่าตนเองทำได้” และใช้ความพยายามอย่างไม่หยุดยั้ง จงอย่าได้กลัวความล้มเหลว เพราะความล้มเหลว เป็นโอกาสที่จะทำให้เราเรียนรู้และทำให้เราได้เติบโตมากขึ้น ยิ่งล้มเหลวมากเท่าไร คุณก็ยิ่งเข้าใกล้ความสำเร็จเท่านั้น โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์ (อาจารย์โทนี่) www.drsuthichai.com


 

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567

สัญญากู้ยืมเงิน ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระคืน กรณีผู้กู้ถึงแก่ความตาย อายุความของสัญญากู้ยืมเงินหรือผู้ให้กู้จะต้องฟ้องทายาทของผู้กู้ ให้ชำระหนี้เงินกู้ภายใน 1 ปี


สัญญากู้ยืมเงิน ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระคืน กรณีผู้กู้ถึงแก่ความตาย อายุความของสัญญากู้ยืมเงินหรือผู้ให้กู้จะต้องฟ้องทายาทของผู้กู้ ให้ชำระหนี้เงินกู้ภายใน 1 ปี
โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
เจ้าหนี้หลายคนละเลยหรือประมาท ในเรื่องของการขาดอายุความ ความจริงการกู้ยืมเงินหรือสัญญาเงินกู้โดยทั่วไปจะมี อายุความ 10 ปี ในการฟ้องร้องเรียกเงินคืน แต่กรณีที่ลูกหนี้ตายไป เจ้าหนี้ต้องรีบฟ้องร้องกับทายาทของผู้ตายหรือทายาทลูกหนี้ ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เจ้าหนี้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ มิฉะนั้นถือว่าขาดอายุความ 
อ้างอิง คำพิพากษาฎีกาที่8811/2556

สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงิน และเมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อนที่โจทก์ทวงถามก็ไม่อาจใช้อายุความทั่วไปตามที่โจทก์ฎีกาเพราะสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้น ภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์เบิกความรับว่า ส. ถึงแก่ความตายในวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และโจทก์อยู่ช่วยงานศพด้วย แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ส. ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203  วรรคหนึ่ง
ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก


 

สัญญากู้ยืมเงิน

 


จ้างทนายความ ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายได้จำนวนเท่าไหร่ ? และศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา? ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ไหม?

 


 จ้างทนายความ ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายได้จำนวนเท่าไหร่ ? และศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา?
ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ไหม?

โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
คำถามประเด็นที่ 1 จ้างทนายความ ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายได้จำนวนเท่าไหร่ ?
ตอบ หากถามผมว่าฟ้องคดีหมิ่นประมาทจะได้ค่าเสียหายจำนวนเท่าไหร่ ? ผมบอกไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีหมิ่นประมาทหากว่าชนะคดีแล้วจะได้ค่าเสียหายจำนวนเท่าไร เพราะว่ามันมีหลักเกณฑ์และมีปัจจัยหลายอย่างที่ศาลจะต้องนำมาพิจารณา แต่พูดกันตามตรงนะครับ ว่าคดีหมิ่นประมาทในประเทศไทย ได้รับค่าเสียหายน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น
      ประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลสั่ง'ทรัมป์'จ่ายค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาทคู่กรณีกว่า 83 ล้านดอลล์  หรือเกือบ 3,000 ล้านบาทให้กับนางอี. จีน แคร์โรลล์ ซึ่งยื่นฟ้องทรัมป์ที่ทำลายชื่อเสียงของเธอในฐานะที่เป็นนักข่าวที่น่าเชื่อถือ 
สำหรับประเทศไทยของเรา หากบอกกันตรงตรง การจ่ายค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาทให้แก่คู่กรณีจะได้ค่อนข้างน้อยส่วนใหญ่ก็แค่หลักหมื่น บางกรณีอาจจะมีบ้าง เป็นหลักแสน แต่เป็นหลักล้านจะมีน้อยมากๆฯ
ดังนั้น เราจะหวังว่าจะฟ้องคดีหมิ่นประมาทให้ได้เงินเป็นล้านเป็น 10 ล้านบาทหรือ 100 ล้านบาท มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ซึ่งส่วนใหญ่คดีประเภทนี้มักจะจบลงด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ย และให้ฝ่ายที่เป็นจำเลยขอโทษและโพสต์ขอโทษตามสื่อต่างๆ แล้วก็ชดใช้เงินส่วนหนึ่ง ซึ่งคดีหมิ่นประมาทจำนวนมากไม่ได้รับค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเงินที่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
เช่น  ศาลตัดสินแล้ว คดีหมิ่นประมาททราย เจริญปุระ คู่กรณีต้องจ่ายค่าเสียหาย โพสต์ขอโทษอีก 200 วัน(อ้างอิง มติชนออนไลน์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565)
คำถามประเด็นที่ 2 ศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา?
ตอบ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การกำหนดค่าเสียหายในคดีหมิ่นประมาท นั้น ไม่ได้มีหลักเกณฑ์แน่นอนตายตัว ว่าจะต้องจ่ายกันเท่าไหร่ เพราะเป็นดุลยพินิจของศาล ที่จะต้องนั่งพิจารณาคดีนั้นๆ บางคดีอาจได้มากหรือได้น้อย ก็คงต้องดูพฤติการณ์ต่างๆในคดี และภาพรวม ซึ่ง หลักเกณฑ์ที่ศาลใช้ในการพิจารณามีดังต่อไปนี้
1.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูดของการหมิ่นประมาทนั้น เป็นข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูดในการหมิ่นประมาทนั้นมันรุนแรงหรือมันร้ายแรงหรือหนักเบามากน้อยเพียงใด  หากเป็นการทำให้เขาได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงหรือรุนแรง อย่างนี้ ค่าเสียหายที่ได้รับก็จะสูงหรือเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าหากว่าเป็นการหมิ่นประมาทแบบเรื่องเล็กๆน้อยๆ ไม่รุนแรงหรือร้ายแรง อันนี้ก็จะได้รับค่าเสียหาย ที่ต่ำหรือจำนวนน้อย 
2.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ก็คือว่ามีใครบ้าง ที่รับรู้ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด หากมีบุคคลต่างๆรับรู้เป็นจำนวนมาก เช่น การโพสต์ในช่อง YouTube มีคนดูเป็นหลักล้าน , การโพสต์ใน  Facebook มีคนกดไลค์กดแชร์เป็นแสนเป็นล้าน หรือโพสต์ลงในสื่อออนไลน์อื่นๆ รวมทั้งสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หากมีคนดูเป็นจำนวนมาก กล่าวคือมีคนรับรู้ในวงกว้าง และผู้เสียหายก็ได้รับผลกระทบในวงกว้าง อันนี้จะได้รับค่าเสียหายที่สูงหรือมากกว่า การโพสต์ใน Youtube มีคนดูแค่ 15 คน หรือโพสต์ใน Facebook มีคนกดไลค์อยู่ 1  คน หรือ มีการหมิ่นประมาทในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกล่าวคือคนอ่านหรือดูเฉพาะในจังหวัดนั้นๆ ไม่ใช่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่คนอ่านกันทั่วประเทศ แบบนี้คนรับรู้ในวงแคบและผู้เสียหายก็ได้รับผลกระทบในวงแคบ ก็จะได้รับค่าเสียหายที่ต่ำหรือน้อยลงไป
3.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ก็คือเรื่องของระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์ของการหมิ่นประมาท รวมไปถึงจำนวนกี่ครั้งในการหมิ่นประมาท  เช่น ถ้าข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูดในการหมิ่นประมาท เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเขียนข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด หมิ่นประมาทอยู่หลายครั้งหรือซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นจำนวนหลายหลายครั้ง เช่น มีการลงโพสต์ลงในกลุ่มไลน์ มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ มีการเผยแพร่ใน YouTube หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์เหล่านี้ก็เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เป็นจำนวนหลายครั้งหรือเป็นจำนวนมาก มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ศาลจะเอามาคิดและพิจารณา คิดค่าเสียหาย ให้ได้รับค่าเสียหายที่สูงหรือมากขึ้น แต่ถ้าสมมุติโพสต์ลงใน Facebook หรือ Line หรือ Youtube เพียงแค่ 1 ครั้ง แล้วรีบลบหรืออีกวันสองวันรีบลบ ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด ออกจากระบบทันที หรือเป็นการแค่พูดหมิ่นประมาท แค่ครั้งเดียว พูดกับคนคนเดียวหรือสองคน อันนี้ค่าเสียหายที่จะได้รับมันก็จะต่ำหรือน้อยลงไป 
4.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ในเรื่องของการรับค่าเสียหายก็ คือฐานะทางสังคมของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย เช่นฐานะภาพทางด้านสังคม ด้านการศึกษา ของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นของผู้ถูกกระทำ หากผู้ที่ถูกกระทำหรือโจทก์ เขาเป็นดารา เป็นนักการเมือง เป็นบุคคลหรือผู้มีชื่อเสียง เป็นนักร้อง กล่าวคือเป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่าเขาก็จะได้รับความเสียในวงกว้างไปด้วย เขาก็จะได้รับค่าเสียหายที่สูงหรือจำนวนมาก แต่ถ้าโจทก์หรือผู้ถูกกระทำหรือผู้เสียหาร เป็นคนโดยทั่วไปไม่มีชื่อเสียง ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ก็จะได้รับค่าเสียหายที่ต่ำหรือน้อยกว่า  อีกทั้งศาลยังพิจารณา ฐานะ อาชีพ รายได้ ของผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ ประกอบการพิจารณาอีกด้วย
                ตัวอย่างเช่น ครูไพบูลย์ ชนะคดีหมิ่นประมาท ศาลตัดสินจำคุก นายห้างประจักษ์ชัย 4 ปี 16 เดือน ไม่รอลงอาญา จ่ายค่าเสียหาย 1 ล้านบาท ทั้งนี้ ภายหลังฟังคำพิพากษา จำเลยได้ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์(อ้างอิง ข่าวออนไลน์7HD เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2566 ) ทั้งนี้ ครูไพบูลย์ เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 20 ล้านบาท แต่ศาลตัดสินสั่งจ่ายค่าเสียหายจำนวน 1 ล้านบาท
5.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา คือผลที่เกิดขึ้นจากการหมิ่นประมาท โดยเฉพาะ ผลกระทบกับคนที่ถูกกระทำมีมากน้อยเพียงใด เช่น การได้รับความอับอายขายหน้า ความเจ็บใจ เพราะ บางคนถูกสังคมตราหน้า บางคนถึงขั้นต้องลาออกจากงานไปเลย บางคนเสียสุขภาพจิต บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนอาจถูกดำเนินการทางวินัย บางคนถูกถูกตั้งกรรมการสอบสวน พวกนี้เป็นองค์ประกอบที่ศาลจะนำเอามาเป็นหลักเกณฑ์ในการคิดและวินิจฉัยค่าเสียหายว่าจะได้รับมากน้อยเพียงใด

6.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา คือการสำนึกผิดของผู้กระทำความผิด และผู้กระทำความผิดหรือจำเลยในคดีหมิ่นประมาท ได้มีการบรรเทาผลร้ายอะไรบ้างให้แก่โจทก์ เช่น สมมุติว่า นาย ก.ได้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต่อมา นาย ก.ได้สำนึกผิด แล้วได้ลบโพสต์ ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด ออกจากระบบ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Facebook , Line  ฯลฯ ออกไปแล้ว อีกทั้งยังได้โพสต์ ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด ที่เป็นการขอโทษ และได้มีการพูดคุยกันทำการขอโทษกับผู้เสียหายโดยตรง  มีการกราบเท้าเพื่อขอโทษ มีการเจรจาขอวางเงินเพื่อชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวนหนึ่ง ลักษณะอย่างนี้เขาถือได้ว่า จำเลย ได้พยายามบรรเทาผลร้าย แล้วได้สำนึกผิด ในการกระทำของตนเอง ศาลก็จะพิจารณาให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ต่ำลงหรือน้อยลง

สรุป สำหรับการฟ้องคดีหมิ่นประมาท ซึ่งมีความผิดทั้งทางอาญาและละเมิดในทางแพ่ง
ในทางอาญานั้นกฎหมายกำหนดระวางโทษจำคุกและปรับสำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาท ส่วนในทางแพ่งนั้นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นถือเป็นการละเมิด มาตราที่มีความเกี่ยวข้อง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 
๔๒๐ , มาตรา ๔๒๓  และ มาตรา ๔๔๗   
คำถามประเด็นที่ 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ไหม?
ตอบ  คดีหมิ่นประมาทหรือความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓
ความผิดฐานหมิ่นประมาท  มาตรา ๓๓๓ บัญญัติไว้ว่า ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้  ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

สำหรับข้อควรระวัง หากไม่แน่ใจ ก็ไม่ควรรีบร้อนไปแจ้งความ ควรปรึกษาทนายความหรือบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นประมาทก่อนแจ้งความ เพราะหากแจ้งความไปแล้ว อาจโดนฟ้องกลับได้ โดยจำเลยสามารถฟ้องกลับได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 การให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ


วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567

เมื่อเจอคนที่ใช่ คุณจะรู้สึกถึงความสบายใจ ในบางครั้งคนที่ใช่ ไม่ใช่เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ แต่ เป็นคนที่ทำให้เรามีความสุขจริงๆเวลาที่อยู่ใกล้ และรักเราในแบบที่เราเป็น ไม่ใช่รักเราในแบบที่เขาอยากจะให้เราเป็น แต่ในบางครั้งชีวิตของคนเราก็ไม่สามารถควบคุมได้เพราะ “ ในบางครั้งคนที่ใช่ก็มาในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ และบางครั้งคนที่ไม่ใช่ก็เข้ามาในช่วงเวลาที่ใช่ ” โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์(อาจารย์โทนี่) www.drsuthichai.com

 


เมื่อเจอคนที่ใช่ คุณจะรู้สึกถึงความสบายใจ ในบางครั้งคนที่ใช่ ไม่ใช่เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ แต่ เป็นคนที่ทำให้เรามีความสุขจริงๆเวลาที่อยู่ใกล้ และรักเราในแบบที่เราเป็น ไม่ใช่รักเราในแบบที่เขาอยากจะให้เราเป็น แต่ในบางครั้งชีวิตของคนเราก็ไม่สามารถควบคุมได้เพราะ “ ในบางครั้งคนที่ใช่ก็มาในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ และบางครั้งคนที่ไม่ใช่ก็เข้ามาในช่วงเวลาที่ใช่ ” โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์(อาจารย์โทนี่) www.drsuthichai.com  

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายมีอะไรบ้าง


การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายมีอะไรบ้าง
โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมาย มีด้วยกันทั้งสิ้นหลายรูปแบบเช่น

ข้อที่ 1 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือการได้มาโดยการขอออกโฉนดที่ดินทั้งตําบล และได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย
อ้างอิง พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 58 และ มาตรา 59
ข้อที่ 2  การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยนิติกรรม เช่น โดยการทำนิติกรรม ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ,จำนอง, ขายฝาก และต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

 
ข้อที่ 3 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมาย เป็นที่ดินที่ไม่ได้ไปแย่งใครมา แต่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ที่ดินงอกริมตลิ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพราะน้ำในแม่น้ำได้พัดพาเอากรวดหินดินทรายมาถมแล้วก็เกิดการพอกพูนขึ้นทุกวันจนกลายเป็นที่ดินขึ้นมา ซึ่งตามหลักกฎหมายได้กําหนดให้ที่ดินงอกริมตลิ่งพวกนี้ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนเดิมที่เกิดที่ดินงอกริมตลิ่ง พวกนี้สามารถนําไปขอออกโฉนดได้ แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินซึ่งเกิดจากการถมที่ดินเพิ่มเติม  

ข้อที่ 4  การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามหลักกฎหมายโดยการครอบครองปรปักษ์  
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ ในทางปฏิบัติ แม้จะเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 1382 กำหนดแล้ว ก็ไม่ใช่จะได้มาได้โดยง่ายเพราะบุคคลที่อ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินนั้น จะต้องดำเนินการ จ้างทนายความ พร้อมแสดงหลักฐาน ”ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์”
ก่อนศาลจะพิจารณาหรือมีคำสั่ง จะต้องกระบวนการต่างๆ โดยศาลจะมีหมายส่งไปยังเจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อในกรรมสิทธิ์(โฉนด)ดังกล่าว เพื่อให้มาแสดงตนในการ “คัดค้าน”และศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ที่ครองครองกล่าวอ้างการครอบครองปรปักษ์ดำเนินการเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินพิพาท และนำหลักฐานอื่นๆมาแสดงเช่น พยานบุคคล,ภาพถ่ายที่ดินที่ได้ครอบครอง,แผนที่ที่ดิน ฯลฯ เพื่อประกอบการพิจารณาในศาลด้วย
ในกรณีไม่มีผู้คัดค้านหรือเจ้าของที่ดินมาแสดงตน ศาลอาจจะมีคำสั่งให้บุคคลผู้ครอบครองที่ดินนั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผู้ครอบครองนั้นจะต้องนำคำสั่งศาลไปติดต่อกรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินจังหวัด เพื่อขอเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวได้
ข้อที่ 5  การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามหลักกฎหมายโดยทางมรดก
ที่ดินมรดกนั้นจะต้องเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์หรือมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น โฉนดที่ดินและถ้าเป็นที่มรดก เช่น นส.3 , สค.1 ก็ถือว่าเป็นที่ดินมือเปล่าหรือมีเพียงสิทธิครอบครอง การได้ที่ดินโดยมรดกนี้จะต้องมีการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินก่อนจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ 
 


 

ที่ดินของเราเป็นที่ดินตาบอด ไม่มีทางเข้า-ออก เราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรได้บ้าง?



ที่ดินของเราเป็นที่ดินตาบอด ไม่มีทางเข้า-ออก เราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรได้บ้าง?
โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
ที่ดินตาบอด หรือ ที่ดินที่ไม่มีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ  เรามีวิธีการแก้ไขตาม กฎหมายซึ่งอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ได้ 2 วิธี ดังนี้ 
1.ภาระจำยอม และ 2.ทางจำเป็น 
1.ภาระจำยอม
ตามกฎหมายการได้มาซึ่งสิทธิของ “ภาระจำยอม” นั้น มี 2 ทาง คือ
1. การได้มาโดยผลทางกฎหมายหรือการได้มาโดยอายุความ  เช่น ที่ดินของเราไม่มีทางเข้าออกเป็นที่ดินตาบอด แต่เราได้มีเจตนาในการขับรถผ่านที่ดินหรือใช้ทางผ่านที่ดินของ นาย ก. ไปไหนมาไหน โดยสงบและอย่างเปิดเผย ใครๆ ก็รู้ว่า เราได้ใช้ถนนหรือที่ดินของนาย ก. เป็นเส้นทางในการเข้าออกเป็นประจำ เป็นเวลา 10 ปี เช่นนี้แล้ว  เราย่อมได้สิทธิตามกฎหมายตาม “ภาระจำยอม” เหนือที่ดินของของนาย ก. ทันที 
2. การได้มาโดยผลทางนิติกรรม  ตัวอย่าง เช่น นาย ฮ.มีที่ดินอยู่ทั้งหมด 2 แปลง และนาย ฮ.ได้ขายที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่ เรา โดยมีข้อตกลงว่า เราสามารถใช้ทางบนที่ดินของนาย ฮ. อีกแปลงหนึ่งเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้ เช่นนี้แล้ว เรา ย่อมได้สิทธิ “ภาระจำยอม” เหนือที่ดินของนาย ฮ.
ที่สำคัญการได้มาซึ่ง ภาระจำยอม โดยผลทางนิติกรรม จำเป็นต้องทำหนังสือสัญญาและต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ไม่อย่างนั้นจะถือว่าสัญญาไม่สมบูรณ์
 
2.ทางจำเป็น
หากของเรา เป็นที่ดินตาบอด ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินของผู้อื่น ไม่มีทางเข้าออกไปถนนสาธารณะ เรามีสิทธิขอเปิด "ทางจำเป็น" กับเจ้าของที่ดินที่ปิดล้อมที่ดินของเราได้
การใช้สิทธิตามกฎหมายของ “ทางจำเป็น”  เราไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นหนังสือ หรือจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ เหมือนกับ “ภาระจำยอม”  เพราะ “ทางจำเป็น” เป็นสิทธิตามกฎหมายอยู่ในตัวแล้ว  เราซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินตาบอดสามารถขอใช้สิทธินั้นได้ เพียงแค่ต้องใช้ด้วยความสุจริต และเคารพต่อเจ้าของที่ดินที่เราไปขอที่ดินของเขา
 
การขอ “ ทางจำเป็น ” หรือการขอทำถนนหรือทางออก ก็ต้องใช้หลักพอสมควรแก่ความจำเป็น และจะต้องส่งผลกระทบต่อที่ดินที่ยอมให้ใช้ “ทางจำเป็น” ให้น้อยที่สุด โดยถือหลักว่า เราต้องเลือกทำถนนหรือทำทางออกที่ใกล้ถนนสาธารณะมากที่สุด และการใช้ “ทางจำเป็น” นั้น ที่สำคัญก็คือ เราหรือผู้ใช้ จะต้องจ่ายค่าทดแทน ให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ที่ให้เราใช้ “ ทางจำเป็น” ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงกันเอง ว่าจะจ่ายกันราคาเท่าไรกี่บาท
 
 


 

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ไปทำสัญญาขายฝาก ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด โดยไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก ต่อมาต้องการไปเพิกถอน โดยนำพยานบุคคลเข้าไปสืบจะทำได้หรือไม่


คำถาม
ไปทำสัญญาขายฝาก ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด 
โดยไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก
ต่อมาต้องการไปเพิกถอน โดยนำพยานบุคคลเข้าไปสืบจะทำได้หรือไม่
โดย...ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
คำตอบ คือ ไม่สามารถทำได้ อ้างอิง ตาม
คําพิพากษาฎีกาที่ ๗๕๑/๒๕๖๐

โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับจําเลยต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จึงเป็นนิติกรรม การขายฝากที่ดินพิพาทที่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๕๖ ประกอบมาตรา ๔๙๑ กรณีจึงเป็นนิติกรรมที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสาร มาแสดง ซึ่งการรับฟังพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๙๔ (ข) บัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟัง พยานบุคคลในกรณีขอสืบพยานบุคคลแทนเอกสารหรือสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมี ข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก เมื่อปรากฏว่า
 หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินระบุราคาขายฝากและสินไถ่ไว้จํานวน ๔,๒๐๐,๐๐๐ บาท และ ผู้ขายฝากได้รับเงินจากผู้รับซื้อฝากเป็นการเสร็จแล้ว โจทก์จะนําพยานบุคคลมาสืบเพื่อ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารว่า ราคาขายฝากที่แท้จริงมีเพียง ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท และได้รับเงินตามสัญญาขายฝากไม่เต็มจํานวนไม่ได้ เพราะเป็นการนําสืบเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามบทบัญญัติของมาตรา ๙๔ (ข) จึงต้องรับฟังตามหนังสือ สัญญาขายฝากที่ดินว่า โจทก์จําเลยตกลงขายฝากที่ดินพิพาทในราคาขายฝากและกําหนดสินไถ่ไว้ เป็นเงิน ๔,๒๐๐,๐๐๐ บาท แม้โจทก์จะนําเงินสินไถ่ไปวางต่อสํานักงานวางทรัพย์เพื่อเป็นค่าไถ่ ที่ดินพิพาทที่ขายฝากในราคา ๒,๐๓๐,๐๐๐ บาท ก็ไม่ครบตามจํานวนสินไถ่ที่กําหนดไว้ตาม สัญญา ถือเป็นการขอปฏิบัติการชําระหนี้ไม่ถูกต้อง จําเลยย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับเงินสินไถ่ ดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จําเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทที่ขายฝากคืน ให้แก่โจทก์


 

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ที่ดิน สปก. ขายไปแล้ว รับเงินไปแล้ว อ้างว่าเป็น โมฆะ ฟ้องขับไล่คนซื้อที่ดิน สปก. ให้ออกไปจากที่ดิน  จะทำได้ไหม?

 


ที่ดิน สปก. ขายไปแล้ว รับเงินไปแล้ว อ้างว่าเป็น โมฆะ ฟ้องขับไล่คนซื้อที่ดิน สปก. ให้ออกไปจากที่ดิน  จะทำได้ไหม?
โดย...ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ หรือ ทนายโทนี่
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
ตอบ เดิม การซื้อขายที่ดิน ส.ป.ก.โดยส่งมอบการครอบครองให้แล้ว สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ (อ้างอิง จาก ฎีกาที่ 2293/2552 ) ต่อมาศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่วินิจฉัยว่า ผู้ขายที่ดิน ส.ป.ก.ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11165/2558)
 
พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39  ห้ามไม่ให้ซื้อขาย  หากซื้อขายก็ถือว่าเป็นโมฆะตามมาตรา 150 (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) 
พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
มาตรา 39 ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิ ในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ก าหนดในกฎกระทรวง

หากมีการซื้อขาย ก็จะถือว่าเป็นโมฆะตามมาตรา 150 (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
“มาตรา 150” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 150 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ “

ดังนั้น คนที่ซื้อก็ไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปเป็นเจ้าของที่ดินได้  แต่ในทางกลับกัน หากไม่มีการทำประโยชน์ในที่ดิน แปลงดังกล่าว ที่ดิน สปก.แปลงนั้นก็จะตกไปเป็นของ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ สปก. และทาง. คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ สปก. ก็จะนำไปจัดสรรให้แก่เกษตรกรรายใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2552 กรณีโจทย์-จำเลย ทำสัญญาซื้อ – ขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นนิติกรรมที่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11165/2558 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2558)
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เป็นผู้รับสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์ขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2546 แล้ว ท. สละการครอบครองให้จำเลยทั้งสองเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา แม้ก่อนฟ้องโจทก์กับ ท. ได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าโจทก์จะคืนเงินให้แก่ ท. 110,000 บาท และ ท. จะคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่ ท. แต่อย่างใด การที่โจทก์กลับมาอ้างเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 – 01 ก.) และมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ท. จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท

สำหรับประเด็น ที่ดินพิพาทที่มีปัญหา  ก็เป็นเรื่องที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑ์ต่อไป

         

          


วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567

พูดเรื่องจริง อาจโดนฟ้องหมิ่นประมาท


พูดเรื่องจริง จะฟ้องหมิ่นประมาทคนพูดได้หรือไม่
คำตอบ คือ ถึงแม้จะพูดเรื่องจริง ก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้(มาตรา 326)  แต่ก็มีหลักกฎหมายที่ระบุว่า ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท(มาตรา 329) หรือ
 มีข้อยกเว้นเที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330 ) 
โดย....ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา ๓๒๖  ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ( คำว่า “ใส่ความ” ตามภาษากฎหมาย คือ การพูดเรื่องอะไรก็ได้ที่ทำให้คนอื่นหรือผู้อื่นฟังแล้วเกิดความเสียหายกับผู้นั้น แม้จะเป็นเรื่องจริงก็ตาม) 
 แต่ก็มีหลักกฎหมายตามมาตรา 329 ที่ระบุว่า ผู้ที่ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้แก่บุคคลที่ซึ่งบัญญัติไว้ตามมาตรา 329 คือ              
มาตรา 329 ประมวลกฎหมายอาญา คือ ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
              (๑) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
              (๒) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
              (๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
              (๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
              ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท “

สำหรับหลักกฎหมาย ที่ได้รับการยกเว้นที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330 ) 
มาตรา 330 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
              แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน 
สรุปอีกครั้ง คือ 
พูดเรื่องจริง จะฟ้องหมิ่นประมาทคนพูดได้หรือไม่
คำตอบ คือ ถึงแม้จะพูดเรื่องจริง ก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้(มาตรา 326) แต่ก็มีหลักกฎหมายที่ระบุว่า ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท(มาตรา 329) หรือ มีข้อยกเว้นเที่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 330 )


 

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ความสำเร็จเกิดจากการคิดเป็นภาพมากกว่าเป็นตัวหนังสือ


เพียงคิดเป็นภาพความสำเร็จก็มีขึ้น
โดย...สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
 นักประดิษฐ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสองพี่น้องตระกูลไรท์ที่คิดค้นเครื่องบินขึ้นมาได้ โทมัส เอดิสันที่คิดค้นหลอดไฟฟ้าขึ้นมาได้ สตีฟ จอบส์ ที่คิดค้นแอปเปิลคอมพิวเตอร์และสินค้าอื่นๆของบริษัท ก่อนที่เขาเหล่านี้จะประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาได้ พวกเขาจะต้องมีภาพของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ขึ้นมาภายในใจก่อน
  การคิดเป็นภาพจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถึงกับกล่าวว่า “ จินตนาการมีความสำคัญกว่าความรู้ ” หรือ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส เรเน่ เดสการตส์ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังได้กล่าวว่า “ ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงเป็น ” ซึ่งก็ถือว่ามีความเป็นจริงอย่างยิ่ง เพราะเคยมีการวิจัยว่า คนธรรมดามักจะคิดเป็นคำ แต่อัจฉริยะมักคิดเป็นภาพ จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าในยุคปัจจุบันเรามักจะเห็น ผู้ที่สร้างเครื่องมือต่างๆ โดยสร้างให้เป็นแผนภาพ แผนภูมิ แผนภาพใยแมงมุม Mind Map เป็นต้น
- Mind Map เป็นตัวอย่างได้อย่างดีในการอธิบายในเรื่องนี้ Mind Map คิดค้นโดย โทนี่ บูซาน เป็นเครื่องมือในการจัดหมวดหมู่ เชื่อมโยงคำต่างๆ ให้เป็นภาพ เพื่อให้ง่ายต่อความจำ ซึ่งประโยชน์ของ Mind Map มีมากมาย เช่น ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเรียน สนุกสนานไม่เบื่อ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้น ฯลฯ
การคิดเป็นภาพจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จ ในการฝึกอบรม ในการ
สัมมนา เกี่ยวกับเรื่องของความสำเร็จ ผมมักแนะนำผู้รับการอบรม หรือ ผู้ที่สัมมนา ให้ฝึกคิดเป็นภาพหรือฝึกจินตนาการทุกๆวัน เกี่ยวกับเรื่องของเป้าหมายหรือความฝันของตนเอง เวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงที่คุณกำลังเพลินกับการอาบน้ำ ช่วงนั่งรถไปทำงานและก่อนนอนหลับตอนกลางคืน อีกทั้งยังแนะนำเพิ่มเติมให้ติดภาพของเป้าหมายหรือความฝันที่ต้องการติดตามห้องนอน ห้องทำงาน เพื่อที่จะได้จดจำได้ง่ายขึ้น เช่น นำภาพบ้านที่ต้องการ , รถยนต์ที่ต้องการ , จำนวนเงินที่ต้องการ และสิ่งต่างๆที่ต้องการติดตามสถานที่ต่างๆ ที่ทำให้เราเห็นอยู่เสมอ 
  เคยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ได้นำเอานักเทนนิสโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งซ้อมจริง กลุ่มที่สองไม่ต้องซ้อมเลย และกลุ่มที่สามซ้อมจากจินตนาการไม่มีการซ้อมจริง ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ซ้อมจริงฝีมือออกมาปกติคงที่ กลุ่มที่สอง ไม่มีการซ้อมเลย ฝีมือแย่ลง และกลุ่มที่สาม ที่ซ้อมจากจินตนาการไม่มีการซ้อมจริงผลปรากฏว่า มีฝีมือออกมาปกติคงที่ เช่นเดียวกับกลุ่มที่หนึ่ง ดังนั้นการฝึกซ้อมโดยคิดเป็นภาพหรือการซ้อมจากจินตนาการมีความสำคัญเพราะ สมองมักแยกไม่ออกระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องในจินตนาการ 
  หากว่าคุณต้องการประสบความสำเร็จในด้านใด ไม่ว่าต้องการเป็นนักพูด นักร้อง นักดนตรี นักแสดง นักขาย ฯลฯ ลองฝึกคิดให้เป็นภาพหรือจินตนาการดู เช่น หากว่าคุณปรารถนาอยากเป็นนักพูด จงฝึกคิดเป็นภาพหรือจินตนาการว่า คุณกำลังขึ้นไปพูดบนเวทีพูดต่อหน้าที่ชุมชนกับผู้คนจำนวนมากมายหลายพันคน ถามว่าทำไมต้องจินตนาการว่ามีหลายพันคน เพราะถ้าหากคุณคิดเป็นภาพหรือจินตนาการว่ามีคนมาฟังแค่สิบยี่สิบคน แล้วถ้าหากคุณไปพูดจริงๆ มีคนฟังเป็นร้อยคนคุณจะรู้สึกตื่นเต้นเนื่องจากมีคนมาก ไหนๆจะคิดเป็นภาพหรือจินตนาการทั้งทีควรฝึกคิดเป็นภาพหรือจินตนาการให้ใหญ่ไปเลย จินตนาการว่ามีคนมาฟัง หลายพันคน ถ้าเกิดในอนาคตมีคนมาฟังแค่ร้อยสองร้อยคนคุณจะรู้สึกมีความประหม่าน้อยลง เป็นต้น
  ดังนั้น ถ้าหากว่าท่านปรารถนาความสำเร็จ การฝึกคิดเป็นภาพหรือฝึกการจินตนาการจึงเป็นสิ่งที่ท่านควรฝึกฝนทุกๆวัน ฝึกให้เป็นนิสัยโดยการจัดเวลาในการฝึกคิดเป็นภาพหรือจินตนาการ ผู้ประสบความสำเร็จจำนวนมากใช้เทคนิคนี้แล้วได้ผล ไม่ว่าจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในประวัติศาสตร์หรือในยุคปัจจุบัน


 

ความรักก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้


ความรักก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ซึ่งต้องการการเติบโต การดูแล เอาใจใส่ ยอมรับทุกด้านของคนรัก ไม่ว่าจะเป็นด้านดีหรือด้านเสีย รวมทั้งข้อบกพร่องหรือความไม่สมบูรณ์แบบของกันและกัน หากว่าใครหรือว่าผู้ใด เริ่มต้นที่ความหลงใหลในความรัก เมื่อวันใดที่ “รักไม่หวาน” หรือชีวิตต้องพบกับความยากลำบาก ในวันนั้นก็จะเป็นวันที่พิสูจน์ซึ่ง “ ความรักแท้ ” โดย...อาจารย์โทนี่ (สุทธิชัย ปัญญโรจน์) www.drsuthichai.com

 

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567

เจอที่ดินของผู้อื่น หรือเจอที่ดินรกร้างว่างเปล่า แล้วล้อมรั้วเพื่อที่จะเอามาเป็นของตนเองครบ 10 ปี จะได้กรรมสิทธิ์ โดยครอบครองปรปักษ์หรือไม่

 


เจอที่ดินของผู้อื่น หรือเจอที่ดินรกร้างว่างเปล่า 
แล้วล้อมรั้วเพื่อที่จะเอามาเป็นของตนเองครบ 10 ปี
จะได้กรรมสิทธิ์ โดยครอบครองปรปักษ์หรือไม่
ตอบ ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ 
โดย...ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)

อ้างอิงตาม  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542 ที่ดินพิพาท มีลูกจ้างไปทำรั้วลวดหนามเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดิน ไม่มีการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดิน ทั้งสภาพที่ดินพิพาทก็เป็นที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรกปกคลุมแนวรั้ว ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์อย่างจริงจัง แสดงว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จำเลยจะทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ติดต่อกันนานเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา และโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีอาญาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันสร้างรั้วลวดหนามบุกรุกเข้าไปในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่21 ตารางวา เมื่อคดีนี้และคดีอาญาดังกล่าวเป็นมูลกรณีเดียวกัน คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ซึ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และเหตุที่จำเลยยกปัญหาเรื่องให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากจำเลยไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง

แม้คดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ฟังว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่1 ไร่ 21 ตารางวา ตั้งแต่ปี 2524 เกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาคงรับฟังเป็นยุติได้แต่เพียงว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทจริงเท่านั้น แต่การครอบครองที่ดินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์จะต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาท ก็เพราะจำเลยซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกันและเป็นที่ดินแปลงใหญ่มาเพื่อขยายโรงงาน และที่ดินดังกล่าวมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีก 12 คน ภายหลังต่อมาจำเลยจึงได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ในขณะที่จำเลยให้ลูกจ้างไปทำรั้วลวดหนามเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดิน ก็ไม่มีการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินก่อน โดยจำเลยเข้าใจตลอดมาว่าแนวรั้วลวดหนามตรงตามแนวเขตที่ดิน ไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ ทั้งสภาพที่ดินพิพาทก็เป็นที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรกปกคลุมแนวรั้ว ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์อย่างจริงจัง แสดงว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จำเลยจะทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ติดต่อกันนานเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

โจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาลภายหลังสืบพยานจำเลยซึ่งนำสืบก่อนเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่สืบพยานก่อนชอบที่จะคัดค้านไว้ แล้วให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังคำพยานเช่นว่ามานั้น แต่คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้โต้แย้งข้อนำสืบของโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หรือจำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้ในสำนวน สำหรับคำแถลงคัดค้านของจำเลยก็เป็นการคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติม มิใช่เป็นคำแถลงโต้แย้งกรณีตามบทมาตรา 89 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องห้ามที่จะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่โจทก์นำสืบนั้น


วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ครอบครองปรปักษ์

 


ครอบครองปรปักษ์  โดย...ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ ในทางปฏิบัติ แม้จะเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 1382 กำหนดแล้ว ก็ไม่ใช่จะได้มาได้โดยง่ายเพราะบุคคลที่อ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินนั้น จะต้องดำเนินการ จ้างทนายความ พร้อมแสดงหลักฐาน ”ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์”
ก่อนศาลจะพิจารณาหรือมีคำสั่ง จะต้องกระบวนการต่างๆ โดยศาลจะมีหมายส่งไปยังเจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อในกรรมสิทธิ์(โฉนด)ดังกล่าว เพื่อให้มาแสดงตนในการ “คัดค้าน”และศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ที่ครองครองกล่าวอ้างการครอบครองปรปักษ์ดำเนินการเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินพิพาท และนำหลักฐานอื่นๆมาแสดงเช่น พยานบุคคล,ภาพถ่ายที่ดินที่ได้ครอบครอง,แผนที่ที่ดิน ฯลฯ เพื่อประกอบการพิจารณาในศาลด้วย
ในกรณีไม่มีผู้คัดค้านหรือเจ้าของที่ดินมาแสดงตน ศาลอาจจะมีคำสั่งให้บุคคลผู้ครอบครองที่ดินนั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผู้ครอบครองนั้นจะต้องนำคำสั่งศาลไปติดต่อกรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินจังหวัด เพื่อขอเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวได้


วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567

หมิ่นประมาท ต่อบุคคลที่ 3

 


ศิลปะการว่าความในศาล

 


ศิลปะการพูดว่าความในศาล
โดย...ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
www.drsuthichai.com

ผู้ที่เป็นทนายความ  มักมีโอกาสได้ใช้คำพูดในการว่าความมากกว่าบุคคลโดยทั่วไป ซึ่งตัวกระผมเองได้ประกอบอาชีพทนายความก็ได้มีโอกาสได้ใช้คำพูดในการว่าความ
ศิลปะการพูดว่าความในศาล จึงต้องสมควรเรียนรู้ สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพทนายความ  หรือแม้แต่บุคคลโดยทั่วไป ก็ควรทำการศึกษาเพราะในชีวิตคนเราสักวันหนึ่งอาจจะต้องได้มีโอกาสเรียกตัวไปเป็นพยาน หรือ เป็นจำเลย เป็นโจทก์ ซึ่งก็ต้องใช้คำพูดในการตอบทนายความ
ทนายความ  ที่จะการพูดว่าความในศาลได้ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
1.ต้องเป็นคนช่างถาม  ช่างซัก เพราะทนายความจะต้องเป็นผู้ที่ ซักถาม ถามค้าน ถามติงและถามนำ พยานที่เบิกความต่อศาล
2.ต้องเป็นคนช่างเถียง ทนายความ  ที่ว่าความเก่ง มักเป็นคนที่ชอบหาเหตุผลมาเถียงเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงกันข้าม 
3.ต้องมีไหวพริบปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เมื่อถูกศาลถาม หรือ เมื่อพยานตอบคำถามที่เป็นอันตรายและไม่เป็นประโยชน์กับฝ่ายของตนเอง  ก็ยิ่งที่จะต้องรีบหาทางแก้ไข
4.ต้องมีความอดทน เพราะการพูดว่าความในศาลเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ในการเรียนรู้ และต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าวิชากฎหมายและวิชาอื่นๆ เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ
การถาม  ทนายความ  ที่เก่งมักจะทำการบ้านมาเป็นอย่างดี กล่าวคือ เขาจะหัดตั้งคำถามไว้มากๆ  อาจจะตั้งคำถามเตรียมไว้ซัก 100 คำถาม แต่อาจจะนำไปใช้จริงๆ สัก 30 คำถาม และเมื่ออยู่ในศาลเขาจะซักถามจนสุดความสามารถ แต่จะถามให้ได้ประโยชน์กับฝ่ายตนเองมากที่สุด  คำถามไหนที่ทำให้ฝ่ายของตนเองเสียเปรียบก็จะไม่พยายามซักถาม อีกทั้งต้องมีการเตรียมการบ้านมาเป็นอย่างดี เขาจะเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้า ว่าคำถามนี้จะถามอย่างไร กับใคร 
การถาม ทนายความ  ควรคำนึงถึงว่า จะถามเรื่องอะไร   จะถามอย่างไร จะถามไปทำไม จะถามแล้วได้รับประโยชน์อะไรจากคำถามที่ถาม และควรคำนึงถึงลำดับในการถามว่าจะถามคำถามใดก่อน คำถามใดมาทีหลัง และควรถามความด้วยความมั่นใจ   พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ   อีกทั้งควรเว้นวรรค หรือ เว้นระยะหยุดเพื่อให้ศาลได้ทำการบันทึกคำตอบของพยาน 
เทคนิค ในการถาม  อีกประการหนึ่งก็คือ โดยมากมักจะไม่ใช้ คำถามว่า “ ทำไม” เพราะอาจจะเกิดความผิดพลาดหรือเสียท่าได้ อันเนื่องมาจากพยานได้อธิบายข้อพร่องที่ทำให้ฝ่ายของตนเองเสียเปรียบ แต่ควรจะตั้งคำถามในลักษณะปลายปิด เช่น ใช่หรือไม่ ,  มีคนอยู่ด้วยหรือไม่มีเลย ,  ใช่ไหม  เป็นต้น
ตัวอย่างคำถาม
ถาม       พยานรู้จักกับจำเลยมาประมาณ 20 ปี ใช่ไหม
ตอบ      ใช่
ถาม      พยานทราบไหมในวันจับกุมใครอยู่ในที่เกิดเหตุ
ตอบ      ไม่ทราบ
ถาม       วงไพ่ที่เล่นกันในวันที่ถูกจับกุมเป็นไพ่ป๊อกหรือไพ่ไทย
ตอบ   ไพ่ไทย
ถาม  พยานยืนอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 10 เมตร หรือ 20 เมตร
ตอบ   ประมาณ 10 เมตร
ถาม  ในวันเกิดเหตุจำเลยมากับเพื่อนผู้หญิงหรือเพื่อนผู้ชาย
ตอล  เพื่อนผู้ชาย
การซักถามพยานในศาล โดยมากมักจะมีในศาลชั้นต้น ส่วนศาลอุทธรณ์และศาลฏีกา มักจะไม่มีการซักพยาน ถึงแม้กฎหมายจะเปิดช่องให้ซักถามได้แต่ก็ไม่ค่อยมีการซักถามกัน 
สำหรับการซักถาม หม่อมหลวงสุพร อิศรเสนา ได้ให้ความหมาย และได้แบ่งการถามออกเป็น  3 วิธี อีกทั้งได้เขียนไว้ว่าการถามแบบไหนใช้คำถามนำได้หรือไม่ได้(จากตำราว่าความซักถาม ถามค้านหน้าที่ 19-21)  
1.การซักถาม(ถามชั้นแรก)
 2.การถามค้าน
3.การถามติง
การซักถาม คือ การถามโดยคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานนั้นเพื่อให้เบิกความตามประเด็นที่ผู้อ้างตั้งใจจะนำสืบเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน
ห้ามใช้คำถามนำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 118 เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือได้รับอนุญาตจากศาล(เหตุผลเพราะเป็นการเอาเปรียบคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง)
การถามนำ คือ คำถามซึ่งแนะแนวทางหรือชี้แนวทางให้พยานตอบตามที่ผู้ถามต้องการให้ตอบ
การถามค้าน คือ การถามของคู่ความฝ่ายตรงกันข้ามกับฝ่ายที่อ้างพยาน
ส่วนคำถามค้าน ใช้คำถามนำได้ 
การถามติง คือ การที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานถามพยานปากนั้นอีกครั้งหนึ่งภายหลังที่พยานนั้นถูกอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านแล้ว 
การถามติงนี้ จะใช้คำถามนำไม่ได้
สำหรับการถามนำนี้ กระผมขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น ถามว่า วันที่เกิดเหตุ คือวันที่ 20 มกราคม 2557 ใช่ไหม พยานก็ตอบว่า  ใช่ คำถามลักษณะนี้เป็นคำถามที่ชี้นำให้พยานตอบ เพราะพยานไม่ต้องใช้ความจำหรือความคิดอะไร 
ทั้งนี้ ศิลปะการพูดว่าความในศาล ยังควรคำนึงถึงมรรยาทในการถาม เช่นควรใช้คำพูดที่มีความสุภาพเรียบร้อย ถามแต่ประเด็นที่สำคัญจะทำให้ศาลเกิดความเชื่อถือทนายผู้ซักถาม ไม่ควรขู่กรรโชกหรือใช้ภาษาที่หยาบคายดุดันกับพยาน
ท่านที่ต้องการศึกษาการพูดว่าความในศาลเพิ่มเติมท่านสามารถอ่านได้จากหนังสือตำราว่าความซักถามถามค้านของหม่อมหลวงสุพร  อิศรเสนา , หนังสือวิชาว่าความและมรรยาททนายความของศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ,คู่มือการเป็นทนายว่าความ ของอุทัย ศุภนิตย์ และ ซักความ พิสดาร ฉบับศิลปในการซักถามของรชฎ   เจริญฉ่ำ


ตั้งสติก่อนจะด่าใคร ดูหมิ่นต่างจากหมิ่นประมาทอย่างไร


ตั้งสติก่อนจะด่าใคร? ความแตกต่างระหว่าง ดูหมิ่นกับหมิ่นประมาท
โดย...ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(อาจารย์โทนี่)      www.drsuthichai.com

ดูหมิ่น
“มาตรา 393 ” หรือ “มาตรา 393 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๘] “

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2551 การดูหมิ่นผู้อื่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393 หมายถึง
การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่น
ผู้อื่นหรือไม่จึงต้อง พิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกล่าวถึง หรือเป็น
การทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว ไม่ต้องถึงกับเป็นการ
ใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326

หมิ่นประมาท
มาตรา 326* ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*[มาตรา 326 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535]

+++ตัวอย่างคดีที่ศาลฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานว่าเป็นการใส่ความ และเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
เช่น
+คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2503 จำเลยได้รับคำบอกเล่าจากญาติของโจทก์ว่า โจทก์รักใคร่กับชายใน
ทางชู้สาว นอนกอดจูบและได้เสียกัน ต่อมามีผู้ถามจำเลยถึงเรื่องนี้ จำเลยก็เล่าตามข้อความที่ได้รับบอกเล่ามา
เช่นนี้ถือว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยมีความผิดตามมาตรา 326
+คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537 หัวข้อข่าวที่ว่า แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เจ้าของร้านฟ้อง
ศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน คำว่าเบี้ยวมีความหมายพิเศษเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าหมายถึง ไม่ซื่อตรงหรือโกง หมายถึง
แอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้านบาท และ
หัวข้อข่าวดังกล่าวเป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวเป็นการใส่ความโจทก์โดย
ประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
+คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2522 จำเลยพูดถึงผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงทำงานอยู่ที่สำนักงานที่ดิน
อำเภอว่ากระหรี่ที่ดิน คำว่า "กระหรี่" หมายความว่าหญิงนครโสเภณีหรือหญิงค้าประเวณี แม้จำเลยจะไม่ได้
กล่าวรายละเอียดว่าค้าประเวณีกับใครประพฤติสำส่อนในทางเพศกับใครบ้างก็เพียงพอที่จะถือว่าเป็นคำหมิ่น
ประมาทแล้ว
จากตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การหมิ่นประมาทไม่ใช่การด่ากัน แต่เป็นการ
ใส่ความผู้อื่น ทั้งเรื่องจริงและไม่จริง