บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ใน ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น) ประจำเดือน มกราคม 2559...เรื่อง..... อาวุธทางการตลาดคือการสร้างไอเดีย...... |
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560
ไอเดีย อาวุธทางการตลาด
IQ EQ AQ CQ PQ MQ SQ
IQ EQ AQ CQ PQ MQและSQ ในการพัฒนาตนเอง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
IQ EQ AQ CQ PQ MQและSQ ตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษเหล่านี้ มักมีผู้สนใจ
อีกทั้งต้องการที่จะทราบความหมายว่าหมายความว่าอย่างไร และสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเอง
ตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษเหล่านี้
เป็นเรื่องที่ควรจะศึกษาและทำความเข้าใจ
IQ ย่อมาจาก Intelligenec Quotient หมายถึง ความฉลาดความสามารถทางเชาว์ปัญญา ซึ่งถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่คอยส่งเสริม
เชาว์ปัญญาเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้
แต่สามารถแสดงออกโดยผ่านพฤติกรรมต่างๆของบุคคล
สำหรับการวัดไอคิว
เราสามารถวัดได้จากแบบทดสอบหรือเครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์คิดค้นโดยมีการแบ่งออกเป็นทักษะต่างๆคือ
ทักษะด้านคณิตศาสตร์ , ทักษะด้านการคิด , ทักษะด้านความจำ , ทักษะด้านการใช้ภาษา
, ทักษะด้านความเร็วในการคำนวณต่าง เป็นต้น
ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อสมองหรือการพัฒนาไอคิว เช่น การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายและสมอง , ความเครียด ความกดดัน ขาดการออกกำลังกาย
ขาดการพักผ่อน , ขาดการฝึกฝนการใช้ความคิด , การมองตนเองในด้านลบ , การใช้สารยาเสพติดต่างๆ , การเลี้ยงดู
การอบรม ภายในครอบครัว เป็นต้น
คนที่มีไอคิวที่สูง
มักได้เปรียบคนที่มีไอคิวที่ต่ำ เพราะคนที่มีไอคิวที่สูง มักคิดได้ไวกว่า , ตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆได้ดีกว่า , เรียนรู้งานหรือสิ่งต่างๆได้เร็วกว่า เป็นต้น
EQ ย่อมาจาก Emotional Quotient หมายถึง เชาว์อารมณ์ หรือความฉลาดทางอารมณ์ คือ การรู้จัก เรียนรู้
ความรู้สึก อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น อีกทั้งสามารถบริหารจัดการกับอารมณ์ต่างๆได้ มีงานวิจัยออกมาหลายชิ้นพบว่า บางคนมี IQ ที่สูง มีความฉลาดทางสติปัญญา
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต ก็เนื่องมาจากการขาด EQ
เช่น
นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกหลายๆคน มีความฉลาดทางปัญญาระดับอัจฉริยะ แต่ครอบครัวแตกแยก
ภรรยาขอเลิก หรือ ทำงานร่วมกันคนอื่นๆไม่ได้ เป็นต้น
ดังนั้นคนที่ประสบความสำเร็จควรมีทักษะด้าน
EQ ให้มาก
เนื่องจากการทำงานภายในองค์กรมักจะต้องทำงานร่วมกันกับคน คนที่สามารถปรับอารมณ์ของตนเองและเรียนรู้อารมณ์ของผู้อื่นมักจะประสบความสำเร็จในการทำงานต่างๆได้เป็นอย่างดี
AQ ย่อมาจาก Adversity Quotient หมายถึง ความสามารถในการฝันฝ่าอุปสรรคปัญหาต่างๆ ทั้งต้องมีความอดทน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ร่างกาย จิตใจ เพื่อที่จะบรรลุถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้ ตัวอย่างเช่นนักไต่เขา 3 คน
คนที่ 1 เมื่อเห็นภูเขาสูงๆ แล้ว
ปฏิเสธไม่อยากที่จะปีนเพราะกลัวเหนื่อย ทั้งๆที่ตนเองก็สามารถปีนขึ้นได้ เราเรียกนักไต่เขาคนนี้ว่า “ Quitters” หรือ ผู้ที่ไม่ยอมเดินทางหรือหยุดเดินทางเมื่อเจอปัญหาอุปสรรค มีลักษณะของการหลบเลี่ยง
คนที่ 2 เมื่อปีนเขาไปได้สักครึ่งทาง
บ่นว่าเหนื่อยแล้วหยุดพัก ตั้งเต้นท์แล้วไม่ยอมปีนต่อ สำหรับลักษณะของคนที่ 2 เมื่ออยู่ภายในองค์กรมักไม่ชอบทำตนให้เด่นเกินหน้าใคร
เราเรียกนักไต่เขาคนนี้ว่า “ Campers” หรือ
ผู้หยุดพักพิงเมื่อได้ที่เหมาะ
คนที่ 3 จะพยายามปีนให้ไปถึงจุดสูงสุดบนยอดเขา
เป็นนักปีนเขาที่อุทิศตนไม่หยุดยั้ง ชอบความท้าทาย มีแรงจูงใจ มีวินัย
เมื่อปีนถึงจุดสูงสุดบนยอดเขา มักจะพูดกับตัวเองและผู้คนรอบข้างว่า “ มีเขาลูกไหนที่สูงกว่านี้ให้ปีนอีกไหม” เราเรียกนักไต่เขาคนนี้ว่า “ Climbers” หรือ ผู้ที่รุกไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง
เมื่อท่านต้องการจะพัฒนาตนเอง
ท่านลองสำรวจตัวท่านเอง ว่าตัวท่านเองมีลักษณะเหมือนนักปีนเขาคนใด
เพราะถ้าหากท่านเหมือนกับนักปีนเขาคนที่ 1
และคนที่ 2 ท่านมีโอกาสเป็นผู้แพ้มากกว่าผู้ที่ชนะ
แต่ถ้าหากท่านมีลักษณะเหมือนนักปีนเขาคนที่ 3
ท่านมีโอกาสในการเป็นผู้ชนะ มากกว่าผู้พ่ายแพ้
MQ ย่อมาจากคำว่า “Moral Oral Quotient” หมายถึง ความฉลาดทางจริยธรรม ศีลธรรม
หากว่าผู้ใดที่มี MQ สูง คนๆนั้นก็จะมีลักษณะที่รู้จักให้อภัย
ลดความเห็นแก่ตัว มีความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งสังคมไทยเรามีปัญหามาก ในเรื่องของ MQ จึงเกิดการทุจริต คอรัปชั่น ในองค์กร
หน่วยงานต่างๆ มากมายขึ้นในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นวงการการเมือง วงการข้าราชการระดับสูง
วงการธุรกิจต่างๆ เป็นต้น
การจะปลูกฝังเรื่องของ MQ เป็นเรื่องยากเพราะต้องปลุกฝังตั้งแต่เด็ก
โดยการสอน การอบรม อีกทั้งผู้ใหญ่ควรประพฤติปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย
MQ สำหรับคนที่ต้องการพัฒนาตนเอง ถ้าหากว่าท่านใดมี MQ สูง มักจะได้รับการยกย่อง ความน่าเชื่อถือ
ความไว้วางใจ มากกว่าคนที่มี MQ ต่ำ
CQ ย่อมาจากคำว่า
(Creativity Quotient) หมายถึง
ความฉลาดทางความริเริ่มคิดสร้างสรรค์
ความมีจินตนาการ ซึ่งคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ หรือ
คิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมา
PQ
ย่อมาจากคำว่า (Play Quotient) หมายถึง ความฉลาดทางการเล่น
เราจะสงสัยเห็นเด็กๆ จะมีพัฒนาการการเรียนรู้ เร็วกว่า ผู้ใหญ่หรือคนชรา เราลองเอา
Ipad ให้เด็กเล่น กับ คนชราเล่น
เราจะเห็นความแตกต่างในการเรียนรู้ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ได้เร็วกว่า
ก็เนื่องจากเด็กมีความฉลาดที่เกิดจากการเล่นนั้นเอง
SQ ย่อมาจากคำว่า Social Quotient
หมายถึง
ความฉลาดทางสังคม
เป็นความสามารถในการปรับตัวในการเข้าสังคมได้ดี เป็นบุคคลที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีทักษะในการพูดจา ยิ้มแย้มแจ่มใส
มีบุคลิกภาพที่ดี
ดังนั้น คนที่เป็นนักพัฒนาตนเองและต้องการที่จะประสบความสำเร็จควรมีทักษะด้าน
SQ เนื่องจาก คนเราเป็นสัตว์สังคม
ควรที่จะต้องมีการพบปะผู้คนให้มากๆ เพื่อการสร้างโอกาสในด้านธุรกิจและโอกาสในด้านต่างๆ
ดังคำกล่าวของสุภาษิตจีนที่กล่าวไว้ว่า “ นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน ขึ้นสู่ที่สูงได้ยาก ”
โดยสรุป IQ
EQ AQ CQ PQ MQ และ SQ
กระผมเชื่อว่าพวกเราทุกๆคนมี
แต่มีความแตกต่างกันหรือมีไม่เท่ากัน ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัวของกระผม
นักบริหารที่ประสบความสำเร็จ ควรจะต้องมี IQ EQ AQ CQ PQ MQ และ SQ ที่มีสัดส่วนที่มีความสมดุลกัน
ไม่มีตัวไหนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป การเดินทางสายกลางจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมดังคำสอนของพระพุทธเจ้าในทางพุทธศาสนา
คือ ไม่ตึงจนเกินไป หรือ ไม่หย่อนจนเกินไป
วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560
D Marketing Communication
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ใน ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2559...เรื่อง..... Digital Marketing Communication....
กลยุทธ์การตลาด สำหรับนักธุรกิจ
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ใน ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำเดือน เมษายน 2559...เรื่อง..... กลยุทธ์การตลาด 10P สำหรับนักธุรกิจ .....
ประจำเดือน เมษายน 2559...เรื่อง..... กลยุทธ์การตลาด 10P สำหรับนักธุรกิจ .....
Viral Marketing บทความ
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ใน ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำเดือน มีนาคม 2559...เรื่อง..... Viral Marketing....
ประจำเดือน มีนาคม 2559...เรื่อง..... Viral Marketing....
บทความ Marketing B2B
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ใน ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น) ประจำเดือน มิถุนายน 2559... เรื่อง..... B2B Marketing ..... |
บทความ Marketing Mindset
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ในวารสารข่าว ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)ประจำเดือน กรกฏาคม 2559...เรื่อง..... Marketing Mindset.....
การตลาดในการแข่งขันระดับโลก บทความ
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ใน ข่าว ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำเดือน กันยายน 2559...เรื่อง..... กลยุทธ์การตลาดในการแข่งขันระดับโลก...
ประจำเดือน กันยายน 2559...เรื่อง..... กลยุทธ์การตลาดในการแข่งขันระดับโลก...
บทความ Attraction Marketing
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ใน ข่าว ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำเดือน ตุลาคม 2559...เรื่อง..... Attraction Marketing การตลาดแบบดึงดูด....
ประจำเดือน ตุลาคม 2559...เรื่อง..... Attraction Marketing การตลาดแบบดึงดูด....
วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560
Celebrity Marketing
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ใน ข่าว ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำเดือน พฤศจิกายน 2559...
เรื่อง " Celebrity Marketing "
ประจำเดือน พฤศจิกายน 2559...
เรื่อง " Celebrity Marketing "
แฟนคลับกับการตลาด บทความ
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ใน ข่าว ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำเดือน ธันวาคม 2559...
เรื่อง " การตลาดว่าด้วยเรื่องของแฟนคลับ....
อาวุธทางการตลาด การสร้างแบรนด์
บทความทางด้านการตลาดของกระผมใน ข่าว ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2560...เรื่อง " อาวุธทางการตลาด การสร้างแบรนด์ "
ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2560...เรื่อง " อาวุธทางการตลาด การสร้างแบรนด์ "
บทความ การตลาดในธุรกิจ SME
บทความทางด้านการตลาดของ ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ส.ส.ท.TPA (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
ประจำเดือน มกราคม 2560...เรื่อง การตลาดสำหรับธุรกิจ SME
ประจำเดือน มกราคม 2560...เรื่อง การตลาดสำหรับธุรกิจ SME
วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560
คุณเป็นนักการตลาดมืออาชีพใช่หรือไม่
คุณเป็นนักการตลาดมืออาชีพใช่หรือไม่
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย
ม.พิษณุโลก
www.drsuthichai.com
หากว่าเราต้องการประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพในด้านใดๆ ผมเชื่อว่า เราควรมีคุณสมบัติ มีความชอบ
มีความรัก และมีลักษณะที่เหมาะสมกับอาชีพนั้นๆด้วย เช่น ใครที่ทำงานด้านบริการ
ก็ต้องเป็นคนที่รักในงานบริการ ชอบพูดคุย
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
พูดจาอ่อนหวาน
ใครที่ต้องการทำงานด้านงานประชาสัมพันธ์
ก็ต้องมีความสามารถทางด้านการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นด้านการพูด ด้านการเขียน สำหรับอาชีพนักการตลาดก็เช่นกัน
เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราเหมาะสมกับการเป็นนักการตลาดมืออาชีพ
นาย John L. Holland เป็นนักวิชาการ เข้าได้คิดค้นทฤษฎีการเลือกอาชีพ
เขากล่าวเอาไว้ว่า คนที่มีความเหมาะสมในอาชีพนักการตลาด
ควรเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ (Enterprising)
อีกทั้งนักการตลาดต้องมีภาวะผู้นำ
มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ชอบชักจูงผู้อื่น กล้าเสี่ยง ชอบการแข่งขัน กล้าพูดจา
การแสดงความคิดเห็น มีความคิดริเริ่ม
นักการตลาดมืออาชีพ เขาเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยอย่างไร
จากการได้อ่านหนังสือและได้ฟังบทสัมภาษณ์ของนักการตลาดอาชีพหลายคน
กระผมพอสรุปได้ดังนี้ ว่า นักการตลาดมืออาชีพแต่ละคน เขามีลักษณะนิสัยอย่างไร
1.เป็นคนที่ติดตามข่าวสาร ติดตามข้อมูลต่างๆ
ที่มีความเกี่ยวข้อง ทางด้านการตลาดอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทางอินเตอร์เน็ต
ทางโทรทัศน์ ทางวิทยุ เพื่อนำข้อมูล ข่าวสาร
เหล่านั้นมาใช้ในการวิเคราะห์ในงานด้านทางการตลาดของเขา
เพราะการติดตามข่าวสาร
ติดตามข้อมูลต่างๆ ทางด้านการตลาดจะทำให้เป็นคนที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
และสามารถคิดอะไรได้ไกลกว่า เร็วกว่า
ดีกว่า นักการตลาดที่ไม่ได้ติดตามข่าวสาร ข้อมูลทางด้านการตลาด
2.เป็นคนที่มีความกระตือรือร้น ทำงานอยู่เสมอ
ไม่หยุดนิ่ง อีกทั้งต้องมีความสุขและสนุกกับงานที่ทำ นักการตลาดมืออาชีพ
มักจะทำงานทางด้านการตลาดได้มากกว่า นานกว่า ดีกว่า นักการตลาดมือสมัครเล่น
เพราะนักการตลาดมืออาชีพ เขามีการทุ่มเท เวลา ความรับผิดชอบ ลงไปในงานที่เขาทำ
3.เป็นคนที่ชอบพบปะ พูดคุย ชอบออกงานสังคม นักการตลาดมืออาชีพ
เขาจะมีเพื่อนเยอะ เขาจะมีเครือข่ายเยอะ เพื่อที่จะได้มีโอกาส ทำงานร่วมกันในอนาคต
ได้ช่วยเหลือกัน ได้พึ่งพากัน อีกทั้งได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ได้รับคำแนะนำในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังได้รับความรู้ต่างๆเพิ่มเติม
จากนักการตลาดมืออาชีพในกลุ่มเดียวกัน
4.เป็นคนชอบวางแผน นักการตลาดอาชีพ เขาจะต้องเป็นนักวางแผนมืออาชีพ
กล่าวคือ เขาจะต้องมีการวางแผนการทำงานอย่างมืออาชีพในแต่ละวัน เขาจะทำการวางแผน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนกลยุทธ์
วางแผนงานทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว อีกทั้งต้องมีการปรับเปลี่ยน แผนงาน
อยู่ตลอดเวลา เพราะงานทางด้านการตลาด เป็นงานที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง
5.เป็นคนที่ชอบใช้ความคิด นักการตลาดมืออาชีพ
เขาจะเป็นนักคิด โดยเฉพาะ เขาจะเป็นนักคิดเชิงสร้างสรรค์ เขาจะสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ
ขึ้นมาเสมอ เราจะมีความคิดที่แตกต่างจากนักการตลาดมือสมัครเล่น อีกทั้งความคิดของเขาสามารถนำเอาไปใช้ในงานหรือนำเอามาปฏิบัติได้ ไม่ใช่คิดขึ้นมาลอยๆ อีกทั้ง นักการตลาดอาชีพ
จะต้องเป็นนักคิดวิเคราะห์ กล่าวคือต้องสามารถวิเคราะห์
สังเคราะห์ ทางด้านการตลาดทั้งตลาดของเราและทั้งการตลาดของคู่แข่ง
อีกทั้งสามารถหาทางออกหรือหาทางแก้ไข หากว่า ฝ่ายของตนเองเสียเปรียบ แต่จะทำอย่างไรให้เป็นฝ่ายได้เปรียบหรือชนะในการแข่งขันได้
6.เป็นคนที่ชอบมีความฝัน มีแรงบันดาลใจ
เป็นคนที่มีพลัง มีเป้าหมาย
นักการตลาดมืออาชีพ เขามักเป็นคนที่มีความทะเยอทะยาน
รู้ว่าตนเองมีความต้องการที่จะเป็นอะไร
รู้ว่าตนเองจะต้องทำงานอย่างไร
เพื่อที่จะให้การตลาดประสบความสำเร็จ
7. เป็นคนที่รู้จักลูกค้า นักการตลาดมืออาชีพ เขาจะรู้ว่า
ลูกค้าของเขามีความต้องการอะไร และจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมือทางการตลาดอะไร
ในการสนองความต้องการทางการตลาดของลูกค้าได้
8.เป็นคนที่รู้จักการสื่อสาร
เขาจะสามารถสื่อสารให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจ สิ่งที่เขาต้องการจะทำในด้านการตลาดและสามารถชักจูงใจให้ผู้บริหารระดับสูงเชื่อตามสิ่งที่เขาคิดได้
ทั้งนี้ จะรวมไปถึง เขาจะรู้วิธีการสื่อสารอย่างไร
เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
9.เป็นคนที่มีความสามารถในการเลือกตลาดได้ดี มองภาพรวมทางการตลาดได้ดี รู้ว่า ลูกค้าของตนอยู่ในพื้นที่ใด เขามีความสามารถในการเลือกพื้นที่
เลือกกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
เขาไม่ใช่นักสุ่ม หรือ นักเสี่ยงโชค โดยไม่รู้จักการหาข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วเลือกตลาดตามใจชอบ
10.เป็นคนที่มีความอดทน และรู้จักจังหวะ ในการทำการตลาด การทำงานทางด้านการตลาด
ในบางสถานการณ์ ที่ไม่มีความเหมาะสม เราก็ควรที่จะรู้จักอดทน
ไม่ทำหรือไม่ใช้เครื่องมือนั้นๆ เช่น สินค้าบางตัว มีความทันสมัยสูง
แต่ในสถานการณ์ทางการตลาดในขณะนั้น กลุ่มลูกค้ายังไม่มีความพร้อม
เราก็ไม่ควรนำเอาใช้ หรือ บางสถานการณ์ เช่น เราออกแคมเปญมาแต่ยังไม่เห็นผลคือ
เราออกมาใช้เพียงแค่ 3 เดือน แล้วยังไม่เห็นผลลัพธ์ที่ดี
เราก็ต้องมีความอดทน เพราะแคมเปญนี้ อาจจะเห็นผลลัพธ์ในทางที่ดีระยะเวลา
1 ปีขึ้นไป เป็นต้น
ฉะนั้น
หากว่าคุณเป็นคนที่ใช้ชีวิต และ มีลักษณะนิสัย รวมถึงมีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น
คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด
และคุณสามารถเป็นนักการตลาดมืออาชีพได้อย่างแน่นอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)